วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

มาตรฐาน 2 มาตรฐานด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เป็นงานนวัตกรรมที่นำไปสู่การสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่เชี่ยวชาญสูง การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเป็นการขยายพรมแดนของความรู้ และทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และขีดความสามารถของคนไทย รวมทั้งการพัฒนาสู่สังคมเรียนรู้ สังคมความรู้ และสังคมแห่งภูมิปัญญา อันก่อให้เกิดวัฒนธรรมการใช้ความรู้ในการกำหนดทิศทางและการพัฒนา ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

ตัวบ่งชี้ร่วม
[2.0 กระบวนการพัฒนา/ส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยและงานสร้างสรรค์ของอาจารย์และนักวิจัย]
[2.1 ร้อยละของงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ และ/หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ]
[2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ภายในสถาบัน ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (บาท)]
[2.3 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบัน ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (บาท)]
[2.4 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในสถาบัน ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ]
[2.5 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบัน ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ]


ตัวบ่งชี้เฉพาะ
[2.6 ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงใน refereed journal หรือในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ต่ออาจารย์ประจำ]
[2.7 จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา หรืออนุสิทธิบัตร ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ชิ้นงาน)]
[2.8 ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ที่ได้รับการยอมรับในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา]
[2.9 ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่มีส่วนร่วมทำโครงการวิจัยกับหน่วยงานภายนอก]