วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ตัวบ่งชี้ 2.1 ร้อยละของงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ และ/หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและระดับ นานาชาติ ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ผู้กำกับติดตามตัวบ่งชี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป จินงี่ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล อ. ทัศนา ทองภักดี
โทรศัพท์ 02-6495000 ต่อ 7626 โทรศัพท์ 0-2649-500 ต่อ 7641

คำอธิบาย
ร้อยละของงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ และ/หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย ทั้งนี้ให้นับอาจารย์ประจำและนักวิจัยเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริง ไม่นับรวมอาจารย์และนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ
งานสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานวิชาการ (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานวิจัย) ที่มีการศึกษา ค้นคว้า หรือแสดงออกทางศิลปะอันเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ให้นับรวมผลงานของนักวิจัยได้ด้วย


สูตรการคำนวณ

จำนวนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ และหรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติในปีการศึกษานั้น X 100
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยในปีการศึกษานั้น

ข้อมูลที่ต้องการ :
1. งานวิจัย และงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ และ/หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติในปีการศึกษานั้น
2. จำนวนอาจารย์ประจำในปีการศึกษานั้น ให้นับรวมนักวิจัยได้ด้วย และไม่นับรวมอาจารย์และนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ


หมายเหตุ
1. ผลงานที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ และใช้ประโยชน์รวบรวมจากผลงานในปีการศึกษานั้นๆ
2. การเผยแพร่ผลงาน 1 เรื่อง ที่เผยแพร่มากกว่า 1 ครั้ง ให้นับเพียง 1 ครั้ง โดยควรนำเสนอผลการเผยแพร่ที่มีคุณภาพเชิงวิชาการมากที่สุด
3. การตีพิมพ์ในวารสารนับเมื่อกองบรรณาธิการวารสารนั้นตอบรับ
4. บทความที่ได้รับการนำเสนอในการประชุม/สัมมนาวิชาการระดับนานาชาติหรือระดับชาติ หมายถึง บทความที่ไม่ใช่บทคัดย่อสำหรับบทความที่ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์รวมเล่มในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) กับบทความอื่นๆ โดยมีคณะกรรมการพิจารณา
5. การรายงานข้อมูลบทความจากที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมดในปีการศึกษาที่ได้รับการประเมิน โดยจำแนกตามประเภทผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวาระสารระดับต่างๆโดยระบุรายละเอียดดังนี้
ชื่อ เล่มที่ และวัน/เดือน/ปี ของวารสารที่ตีพิมพ์
ชื่อบทความ และเลขหน้า
ชื่อผู้เขียน

เอกสารอ้างอิง

รหัสเอกสารอ้างอิง รายการเอกสารอ้างอิง
49-16A-0201-01 อังศินันท์ อินทรกำแหง อัจฉรา สุขารมณ์ และ อรพินทร์ ชูชม. (2549) “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 กันยายน 2549 (หน้า49-71)
49-16A-0201-02 มนัส และ พรรณี บุญประกอบ. (2549). “ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานภายหลังเกษียณอายุราชการของข้าราชการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 กันยายน 2549 (หน้า36-48)
49-16A-0201-03 อรพินทร์ ชูชม อัจฉรา สุขารมณ์ และ อุษา ศรีจินดารัตน์. (2549). “การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย.” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 กันยายน 2549 (หน้า15-35)
49-16A-0201-04 ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และ ทัศนา ทองภักดี. (2549). “การวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุ.” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 กันยายน 2549 (หน้า1-14)
49-16A-0201-05 พรรณี บุญประกอบ และคณะ “การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนา พลังปัญญาของเยาวชนไทย” การนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมใหญ่
สามัญประจำปี 2549 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
49-16A-0201-06 Dusadee Yoelao. (2006). “A comparison Study on Students’ Career Aspiration Between Gifted students in Special science School and Gifted Students in Regular School With Special Program in Science ad Technology” present in Proceedings of The 9th Asia – Pacific Conference on Giftedness July31- August 4, 2006 Taipei . (PG.329-334)

49-16A-0201-07
Laddawan Kasemnet and Preteep Jinjee . (2006). “A Study of Talented Behaviors and Related Background in Young Highly Gifted Children” present in Proceedings of The 9th Asia – Pacific Conference on Giftedness July31- August 4, 2006 . Taipei. (PG.213-220)


เกณฑ์การให้คะแนน / คะแนนที่ได้

1. การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (คะแนนเต็ม 3 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได้
1 คะแนน
2 คะแนน
3 คะแนน
3
ร้อยละ 1 – 19
ร้อยละ 20 - 29
มากกว่าหรือ= ร้อยละ 30

2. การประเมินอิงพัฒนาการ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได
0 คะแนน
1 คะแนน
1
ไม่มีการพัฒนา
มีการพัฒนา
หมายเหตุ
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 หรือถ้าผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 3 คะแนน ถือว่ามีการพัฒนา

3. การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์(คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได้
0 คะแนน
1 คะแนน
1
ไม่มีการปฏิบัติตามแผน
มีการปฏิบัติตามแผน

สรุปคะแนนการประเมินตัวบ่งชี้ 2.1

คะแนนที่ได้จากการประเมิน
รวมคะแนน
การประเมิน
อิงพัฒนาการ
มีการปฏิบัติตามแผน
5
3
1
1

 

ตัวบ่งชี้
น้ำหนัก
(1)
คะแนนที่ได้
(2)
ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก
(3) = (1) x (2)
2.1 ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาโทและเอกที่ได้งานทำ และประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปี
3.34
5
16.7