วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ตัวบ่งชี้ 2.5 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ผู้กำกับติดตามตัวบ่งชี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป จินงี่ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล อ. ทัศนา ทองภักดี
โทรศัพท์ 02-6495000 ต่อ 7626 โทรศัพท์ 0-2649-500 ต่อ 7641

คำอธิบาย
ร้อยละของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบันเทียบกับอาจารย์ประจำ ทั้งนี้ให้นับอาจารย์ประจำและนักวิจัยเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริง ไม่นับรวมอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ และไม่นับซ้ำแม้ว่าอาจารย์ประจำหรือนักวิจัยท่านนั้นจะได้รับทุนวิจัยหลายครั้งในปีการศึกษานั้นๆ
การได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หมายรวมถึง การได้รับเงิน วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอกสำหรับงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ในกรณีที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้คำนวณเป็นจำนวนเงินตามราคาของสิ่งนั้นๆ
แหล่งทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบัน จำแนกดังนี้
1) แหล่งทุนในประเทศ เช่น สวทช. สกว. สกอ. วช. สสส. เป็นต้น
2) แหล่งทุนต่างประเทศ
3) จากหน่วยงานภาคอุตสาหกรรม กระทรวง จังหวัด อื่นๆ ที่ไม่ใช่แหล่งทุนวิจัย
4) จากภาคเอกชน
5) จากแหล่งอื่นๆ
สูตรการคำนวณ

จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบัน X 100
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยในปีการศึกษานั้น


ข้อมูลที่ต้องการ / วิธีการเก็บข้อมูล :
1. จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยในปีการศึกษานั้น ทั้งนี้ให้นับอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่ปฏิบัติงานจริง ไม่นับรวมอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ
2. จำนวนอาจารย์และนักวิจัยที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอก ในปีการศึกษานั้น และไม่นับซ้ำแม้ว่าอาจารย์ประจำหรือนักวิจัยท่านนั้นจะได้รับทุนวิจัยหลายครั้งในปีการศึกษานั้นๆ

หมายเหตุ
ในการประเมินจะนับจำนวนอาจารย์ที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เพียงครั้งเดียว แม้ว่าอาจารย์ท่านนั้นจะได้รับทุนมากกว่า 1 ทุน ในปีการศึกษานั้น

เกณฑ์การให้คะแนน / คะแนนที่ได้

1. การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (คะแนนเต็ม 3 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได้
1 คะแนน
2 คะแนน
3 คะแนน
3
ร้อยละ 1 – 24
ร้อยละ 25 – 39
มากกว่าหรือ= ร้อยละ 40

2. การประเมินอิงพัฒนาการ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได
0 คะแนน
1 คะแนน
1
ไม่มีการพัฒนา
มีการพัฒนา
หมายเหตุ
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 หรือถ้าผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 3 คะแนน ถือว่ามีการพัฒนา

3. การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์(คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได้
0 คะแนน
1 คะแนน
1
ไม่มีการปฏิบัติตามแผน
มีการปฏิบัติตามแผน

สรุปคะแนนการประเมินตัวบ่งชี้ 2.5

คะแนนที่ได้จากการประเมิน
รวมคะแนน
การประเมิน
อิงพัฒนาการ
มีการปฏิบัติตามแผน
5
3
1
1

 

ตัวบ่งชี้
น้ำหนัก
(1)
คะแนนที่ได้
(2)
ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก
(3) = (1) x (2)
2.5 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ จากภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
3.34
5
16.7