วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและจัดการ
้ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มีคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ที่มีสัดส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย  และมีสัดส่วนที่เหมาะสมในการคานอำนาจเพื่อการตัดสินใจ    ประกอบด้วย    ผู้อำนวยการ    เป็นประธานกรรมการ  รองผู้อำนวยการ  จำนวน  3  คน  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง   ผู้แทนข้าราชการของสถาบัน ฯ จำนวน 3  คน  เป็นกรรมการ  (ได้จากการเลือกตั้ง  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  2  ปี  และอาจได้รับเลือกใหม่อีกได้)  และมีเลขานุการสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  เป็นเลขานุการ
                มีประธานยุทธศาสตร์ฝ่ายต่าง ๆ จัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี โดยให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบันฯ
เป็นประจำทุกปี  โดยผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้บริหารและที่ประชุม  Staff  เมื่อสิ้นปีงบประมาณของทุกปี สถาบันฯติดตามผลการดำเนินงาน  โดยให้ประธานยุทธศาสตร์ฝ่ายต่าง ๆ รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานต่อที่ประชุม  Staff  เสร็จแล้ว  คณาจารย์สถาบัน ฯ ก็จะทำการประเมินผลการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ฝ่ายต่าง ๆ ตามแบบประเมินที่สถาบัน ฯ จัดทำขึ้น  หลังจากนั้น  สถาบัน ฯ จะดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผลการประเมิน  เสนอผลการประเมินของทุกยุทธศาสตร์ต่อผู้อำนวยการ    และแจ้งผลการประเมินให้แก่ประธานยุทธศาสตร์ฝ่ายต่าง ๆ   ได้รับทราบ 
(เป็นเอกสารลับ)  เพื่อให้ประธานยุทธศาสตร์นั้น ๆ ได้นำผลการประเมินไปปรับปรุงในการทำแผนดำเนินงานในปีต่อไปให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น 
                นอกจากนี้  การบริหารจัดการของสถาบัน ฯ จะดำเนินงานเป็นทีม  เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย  โดยการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการหรือกิจกรรมนั้น ๆ
                การควบคุมภายใน มีการดำเนินการควบคุมในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันฯ
เป็นอันดับแรก  ได้แก่  เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา  การเสนอเค้าโครงปริญญานิพนธ์   ระดับปริญญาโท  และเรื่องการจัดหาพัสดุ    และในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2551   สถาบัน ฯ พิจารณาเห็นว่าความเสี่ยงในเรื่องนั้น ๆ   ได้หมดลงแล้ว
จึงได้เสนอมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการในเรื่อง  “การควบคุมวัสดุที่มีความคงทนและมีอายุการใช้งานเกินกว่า  1  ปี” 
ซึ่งสำนักงบประมาณได้เปลี่ยนระเบียบให้จัดซื้อในรูปของวัสดุ  
                การบริหารทรัพยากรบุคคล  สถาบันฯ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมทั้งบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ  โดยการจัดสรรงบประมาณประจำปีอย่างต่อเนื่อง  เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุม  สัมมนา  อบรม  ศึกษาดูงาน  และเสนอผลงานวิจัยในเวทีต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 

7.1

สภาสถาบันใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการและสามารถผลักดันสถาบัน ให้แข่งขันได้ในระดับสากล

7.2

ภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน

7.3

มีการพัฒนาสถาบันสู่องค์กรการเรียนรู้

7.4 มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อพัฒนาและธำรงรักษาไว้ให้บุคลากรมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
7.4.1 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่เข้าร่วมประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานวิชาการ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7.4.2 ร้อยละของบุคลากรประจำสายสนับสนุนที่ได้รับพัฒนาความรู้และทักษะในวิชาชีพ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7.5 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย
7.6 ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
7.7 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ได้รับรางวัลผลงานทางวิชาการหรือวิชาชีพในระดับชาติหรือนานาชาติ
7.8 มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษา
7.9 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล