วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

สรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
และบทสรุปผู้บริหาร

[ ผลการประเมินคุณภาพภายใน ระดับตัวบ่งชี้ และระดับมาตรฐาน ]

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประจำปีการศึกษา 2549  กรรมการได้ประเมินคุณภาพโดยพิจารณาตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพ จำนวน....7....มาตรฐาน...53....ตัวบ่งชี้   โดยมีผลการประเมินคุณภาพและสรุปจุดแข็ง การเสริมสร้างความแข็งแกร่ง จุดอ่อน และแนวทางแก้ไขโดยรวม ดังนี้


ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

มาตรฐาน

จำนวน
ตัวบ่งชี้

ผลการประเมินของคณะกรรมการ

ตัวบ่งชี้ที่ไม่ประเมิน

ดี

พอใจ (ผ่าน)

ปรับปรุง

1.  คุณภาพบัณฑิต

10

/

 

 

 

2.  งานวิจัยและงานสร้างสรรค์

10

 

/

 

 

3.  การบริการวิชาการ

5

/

 

 

 

4. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

3

/

 

 

 

5.  การพัฒนาสถาบันและบุคลากร

12

/

 

 

5.6
เห็นควรให้ประเมินในระดับมหาวิทยาลัย

6.  หลักสูตรและการเรียนการสอน

10

/

 

 

 

7. การประกันคุณภาพ

3

/

 

 

 

 ผลการประเมินระดับภาควิชา (สาขาวิชา)
และระดับคณะ / หน่วยงานเทียบเท่า

 

 

 

 

 

เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  ระดับภาควิชา (สาขาวิชา) และระดับคณะ / หน่วยงานเทียบเท่า
คุณภาพระดับดี                   เมื่อ         (1)  ผลการประเมินอยู่ในระดับดีทุกมาตรฐาน  หรือ  (2) ผลการประเมินอยู่ในระดับดีในมาตรฐาน 1-4   และ ไม่มีผลการประเมินอยู่ในมาตรฐานใดอยู่ในระดับควรปรับปรุง

คุณภาพระดับพอใจ                   เมื่อ         ไม่เข้ากรณีระดับดี และกรณีควรปรับปรุง
คุณภาพระดับควรปรับปรุง         เมื่อ         (1)  ผลการประเมินอยู่ในระดับควรปรับปรุง อย่างน้อย 1 มาตรฐาน  ในมาตรฐาน 1-4   หรือ 
(2)  ผลการประเมินอยู่ในระดับควรปรับปรุง อย่างน้อย 2 มาตรฐาน ในมาตรฐาน 5-7


จุดแข็ง การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง จุดอ่อน และแนวทางแก้ไขโดยรวม

จุดแข็ง

  1. สถาบันวิจัยฯ มีงานวิจัยจำนวนมาก ซึ่งเป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้
  2. งานวิจัยได้รับการเผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
  3. มีการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมจำนวนมาก
  4. บัณฑิตมีคุณภาพสูง
  5. มีการทำงานเป็นทีม

               การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง

  1. ควรนำงานวิจัยที่มีอยู่มาทำวิจัยต่อยอดและเผยแพร่ออกสู่สังคม เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพ และอยู่ในความสนใจของบุคคลภายนอก
  2. งานวิจัยที่ไปในทำนองเดียวกัน เช่น งานวิจัยด้านปรีชาเชิงอารมณ์ น่าจะทำเป็นหมวดหมู่และตั้งเป็นศูนย์รวมงานวิจัย (Excellence Center) ให้บุคคลภายนอกรับรู้ว่าถ้าจะศึกษางานวิจัยด้านนี้จะต้องมาที่สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

                จุดอ่อน

  1. งบประมาณมีจำนวนน้อย
  2. ขาดบุคลากร
  3. งานวิจัยมีจำนวนมากและมีคุณภาพแต่ยังไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลที่จะนำไปอ้างอิงได้
  4. ผลงานวิจัยที่ลงในวารสารไม่สามารถอ้างอิงได้เนื่องจากวารสารไม่ได้อยูในฐานข้อมูลที่ สกอ. กำหนดเนื่องจากกองบรรณาธิการมีแต่บุคคลภายใน

                แนวทางแก้ไข

  1. ปรับปรุงกองบรรณาธิการประจำวารสารให้มีบุคคลภายนอกให้ได้สัดส่วนตามที่ สกอ. กำหนด
  2. สนับสนุนให้คณาจารย์เสนอผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น

ส่วนนำ

คำนำ
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ครั้งนี้เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  ประจำปีการศึกษา  2549  คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยและตามตัวบ่งชี้ซึ่งสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์กำหนดขึ้นมาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับงานของสถาบันฯ  7 มาตรฐาน  53  ตัวบ่งชี้  รวมทั้งเป็นการตรวจเยี่ยมหน่วยงานเพื่อให้ข้อเสนอแนะ  หรือข้อคิดในการดำเนินงานต่าง ๆ  ของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ โดยดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาในวันที่  3  ตุลาคม  2550  ณ  ห้องประชุม 8216 ชั้น 2 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

วัตถุประสงค์ในการประเมินคุณภาพการศึกษา
เพื่อตรวจเยี่ยมหน่วยงานและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ตามตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและของสถาบันวิจัยฯที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับงานของสถาบันวิจัยฯ

ส่วนเนื้อหา
                วิธีการดำเนินงาน
คณะกรรมการได้เริ่มดำเนินงานโดยการประชุมวางแผนเพื่อกำหนดกิจกรรม  เวลา  และข้อมูลที่จะขอเพิ่มเติมจากหน่วยงาน

1. การศึกษาเอกสารต่างๆ

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  ได้ดำเนินการตรวจสอบและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารรายงานการประเมินผลงานตนเอง ( SAR )  ของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ และศึกษาเอกสารประกอบอื่น ๆ  ที่สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์เตรียมไว้ให้ดังนี้

  1. เอกสารประกอบต่าง ๆ  ตามมาตรฐาน  7 มาตรฐาน
  2. เอกสารหลักฐานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้อง
  3. เอกสารอื่น ๆ ที่ขอเพิ่มเติม

2. การประชุมร่วมกับผู้บริหาร และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารคณาจารย์และบุคลากรของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมของหน่วยงาน  รวมทั้งเพื่อรับทราบนโยบาย  เป้าหมาย  การดำเนินงาน  และข้อมูลสำคัญในการประเมินคุณภาพของหน่วยงาน

3. การรวบรวมข้อมูล โดยศึกษาหลักฐานที่แสดงผลการดำเนินงานที่เชื่อถือได้

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ  ที่สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เตรียมไว้ให้

4. การประชุมสรุปผล

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาได้ประชุมสรุปผลการประเมินโดยศึกษาและวิเคราะห์  ข้อมูลจากรายงานการประเมินตนเองและหลักฐานเอกสารต่าง ๆ  แล้วแจ้งผลการประเมินเบื้องต้น ระดับการประเมิน  จุดแข็ง  การเสริมสร้างความแข็งแกร่ง จุดอ่อน แนวทางแก้ไขให้ผู้บริหารคณาจารย์และบุคลากรทราบ  และได้รายงานผลการประเมินให้สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ตามแบบของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

5. อื่นๆ (ถ้ามีโปรดระบุ)

        ---