เพื่อตีพิมพ์ในวารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 2562 และหรือ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม 2563 วารสารที่ตีพิมพ์แล้ว BSRI & TCI-Thaijo โดยได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ สกอ. และ สกว. กำหนดโดยกองบรรณาธิการ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก มีผลงานวิจัยต่อเนื่อง ที่มาจากสถาบันภายนอกเป็นส่วนใหญ่และมาจากสถาบันภายในส่วนหนึ่ง และทุกบทความต้องผ่านผู้อ่านหรือผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานวิจัยในสาขาและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผู้อ่านและผู้เขียนไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน และเป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยทุกบทความจะต้องผ่านการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปีของสถาบันฯ โดยมีผู้วิพากษ์ประจำห้องที่ไม่ได้เป็นผู้อ่านบทความ ซึ่งการประชุมจัดต่อเนื่องในเดือนสิงหาคม ของทุกปี
1. เป็นบทความในกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่เน้นการวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ ในเชิงสหวิทยาการและต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน มิฉะนั้นถือว่าผิดจรรยาบรรณ
2.รับบทความวิจัย (Research Articles) เป็นหลักและรับบทความวิชาการ (Articles) และบทความ ปริทรรศน์ (Review Articles) บ้างและมานำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปีของสถาบันฯ
3. ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ประเมินและให้การ ยอมรับอย่างน้อย 2 คน
4. ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้ บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นสุดท้ายก่อนเผยแพร่
เนื้อเรื่อง
1. บทความวิชาการ หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างสมบูรณ์ และมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ โดยมีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้ กรอบแนวคิดและทฤษฎีจากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการผ่านมุมมองของตนเองได้อย่างเด่นชัด และเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน
2. บทความวิจัย ควรให้มีการนำเสนอการวิจัยและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบโดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้) บทนำ (Introduction) ที่ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัยพร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความและวัตถุประสงค์ของการวิจัย, การประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Literature Review), วิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่สามารถอธิบายวิธีดำเนินการวิจัยรวมถึงการเก็บข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน, ผลการศึกษา (Research Finding), อภิปรายและสรุปผลการวิจัย (Discussion/Conclusion)
ส่งบทความได้ที่ TCI-Thaijo หากมีข้อสงสัยติดต่อที่ ผศ.ดร.ปิยดา สมบัติวัฒนา (บรรณาธิการ) 02-6495000 ต่อ 17600 หากไม่สามารถใช้ระบบ TCI-Thaijo ติดต่อ วาสนา วงษ์เพชร 026495000 ต่อ 17600
เวลา | กิจกรรม |
07.00 - 08.30 น. | พิธีสงฆ์ |
09.00 - 09.30 น. | ลงทะเบียน |
09.30 - 09.45 น. | พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม |
09.45 - 10.00 น. | พิธีกล่าวเปิดงาน โดย รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ |
10.00 - 12.00 น. | บรรยายพิเศษ หัวข้อ |
12.00 - 13.00 น. | พักรับประทานอาหารตามอัธยาศัย |
13.00 - 16.30 น. | นำเสนอผลงานวิจัย (Oral Presentation) |
16.30 - 17.30 น. | การเสวนาหัวข้อ “ความก้าวหน้าทางการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์” และ “การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพของหลักสูตรและการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์” โดย คณาจารย์สถาบันฯ ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า ศิษย์ที่มีชื่อเสียง และผู้เกี่ยวข้อง |