วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ตัวบ่งชี้ที่ :

5.1

มีระบบและกลไกลในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน

ชนิดของตัวบ่งชี้ :

กระบวนการ

ระดับตัวบ่งชี้ :

/ มหาวิทยาลัย

/ คณะ/สถาบัน

แหล่งข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย :

กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี

แหล่งข้อมูลระดับคณะ/สถาบัน :

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ (นางสาวกรรณิการ์  สุขศรี)

ข้อมูลประกอบ :
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  มีระบบและกลไกลในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน  ในระดับต่างๆ ดังนี้
ระดับ 1  มีการจัดทำนโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนดำเนินงานของการบริการวิชาการแก่สังคม
โดยได้มีการกำหนดแผนการจัดกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ  ไว้ในแผนการปฏิบัติงานประจำปีของคณะผู้บริหาร  ประจำปีงบประมาณ 2550 และ 2551 ดังนี้   (รายการหลักฐาน 50-5010-01 ถึง 50-5010-02)
ระดับ 2  มีคณะกรรมการ คณะทำงานหรือหน่วยงานดำเนินการให้บริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนด
ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งก็จะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน/คณะทำงาน  เพื่อปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ ของกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยสามารถดูได้จากเล่มรายงานการจัดกิจกรรม/โครงการ (กล่องเอกสารกลาง )
ระดับ 3   มีการกำหนดหลักเกณฑ์และหรือระเบียบในการให้บริการวิชาการแก่สังคม
                สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และหรือระเบียบในการให้บริการวิชาการแก่สังคมเป็นลายลักษณ์อักษร  แต่ยึดหลักปฏิบัติในการจัดโครงการบริการวิชาการคือ  มีการเสนอขออนุมัติจัดโครงการบริการวิชาการต่อคณะกรรมการบริหารสถาบัน เพื่อให้คณะกรรมการบริหารสถาบันให้ความเห็นชอบ   (รายการหลักฐาน 50-5010-03 )
ระดับ 4  มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนด
การจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ  สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  จะมีการติดตามและรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการและรายงานให้ที่ประชุมต่างๆ รับทราบ (รายการหลักฐาน 50-5010-04)   รวมถึงมีการจัดทำแบบประเมินกิจกรรม/โครงการขึ้น  เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดโครงการ/กิจกรรมนั้นๆ เพื่อใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานในการจัดกิจกรรม/โครงการในครั้งต่อไป โดยฝ่ายประเมินผลได้จัดทำเป็นรายงานสรุปผลการประเมินไว้เป็นรูปเล่ม (กล่องเอกสารกลาง )

 ระดับ 5  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริการวิชาการแก่สังคม
มีการนำสรุปผลการประเมินให้ประธานโครงการได้รับทราบ  เพื่อจะได้นำผลจากการประเมินไปปรับปรุงการจัดกิจกรรม/โครงการในครั้งต่อๆไป  เช่น
-ในโครงการแปลผลวิเคราะห์ข้อมูล ในปีก่อนๆ จะมีการ comment เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของผู้เข้าร่วมอบรมคือ 1 เครื่องใช้ 2 คน   ในการจัดอบรมครั้งนี้  ในหลักสูตรที่มีผู้แจ้งความจำนงเข้าร่วมอบรมจำนวนมาก (มากกว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของสถาบันฯ)  สถาบันฯ จึงได้ขอใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของสำนักหอสมุดกลาง ซึ่งมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงพอต่อผู้เข้าอบรม ในวิชานั้น (รายการหลักฐาน 50-5010-05)
-โครงการอบรม “วิจัยเชิงคุณภาพ”  รุ่นที่ 3 มีข้อ comment ให้มีการแจกรูปถ่ายให้กับผู้เข้าอบรมด้วย  แต่เนื่องจากสถาบันฯ ไม่สะดวกที่จะอัดรูปแจกผู้เข้าร่วมอบรมทุกคน  สถาบันฯ จึงได้ upload รูป ในการอบรมขึ้นทางหน้า website ของสถาบันฯ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เลือก load รูปที่ต้องการได้ตามต้องการ (รายการหลักฐาน      50-5010-05 )

ระดับ 6  มีการจัดทำแผนการเชื่อมโยงและบูรณาการการบริการทางวิชาการแก่สังคมเข้ากับ การเรียนการสอนหรือการวิจัยหรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม     
                                สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  มีแผนในการเชื่อมโยงและบูรณาการการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  โดยสามารถดูได้จากการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการบริการวิชาการ  การกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ และแผนปฏิบัติงานของผู้บริหารสถาบันฯ  ตามยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 
-แผนปฏิบัติงานยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2550 (รายการหลักฐาน 50-5010-01)
เป้าหมายที่ 1 แผนงานให้นิสิตเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการและในวารสารวิชาการ  โดยสถาบันฯ ได้จัดให้มีการประชุมวิชาการทางพฤติกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ.2550 และจัดประชุม The 4th International Postgraduate Research Colloquium 
เป้าหมายที่ 3 มีการกำหนดแผนให้นิสิตบริการวิชาการแก่สังคม   โดยให้นิสิตเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันฯ  เช่น โครงการ “พัฒนาครอบครัวเข้มแข็งและเยาวชนคุณภาพ  ด้วยเครือข่ายครอบครัว-โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครนายก”  และโครงการบริการวิชาการอื่นๆ ของสถาบันฯ
-แผนปฏิบัติงานยุทธศาสตร์สืบสานวัฒนธรรมไทย ปีงบประมาณ 2550 (รายการหลักฐาน 50-5010-01)
เป้าหมายที่ 1 ให้นิสิตช่วยงานวิจัยของอาจารย์ในช่วงออกภาคสนามในวิชาวิจัยเชิงคุณภาพ และ
เป้าหมายที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิจัยคุณภาพ  โดยให้นิสิตไปศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้าน  โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ
-แผนปฏิบัติงานยุทธศาสตร์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อสังคม  ปีงบประมาณ 2550  (รายการหลักฐาน 50-5010-01)


เป้าหมายที่ 1 มีการจัดประชุมทางวิชาการด้านพฤติกรรมศาสตร์ประจำปี ในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันฯ เพื่อเป็นเวที่ให้นักวิจัยด้านนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เป้าหมายที่ 2 การจัดการความรู้สู่สังคมด้วยการประยุกต์ผลิตผลงานวิจัยและวิชาการด้วยการร่วมรู้ร่วมเรียนของชุมชน  โดยการนำผลผลิตจากการวิจัยลงสู่โครงการบริการวิชาการ เช่น โครงการเสริมสร้างชุมชนพัฒนาเพื่อการประยุกต์ความรู้สู่ชุมชนด้วยวิธีการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชน
-แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์  ปีงบประมาณ 2551 มีการกำหนดจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมทั้งทางเนื้อหาวิชาการและวิธีวิทยาการวิจัย และประเด็นปัญหาวิจัยที่น่าสนใจ  เพิ่มเติมจากวิชาเรียนประจำของนิสิต  ซึ่งในปีการศึกษา 2550 นี้ สถาบันฯ ได้มีการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตทั้งหมด4 ครั้ง   อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม เช่น โครงการ “พัฒนาครอบครัวเข้มแข็งและเยาวชนคุณภาพด้วยเครือข่ายครอบครัวโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครนายก” และโครงการบริการวิชาการอื่นๆ ที่สถาบันจัด เช่น การอบรม “การวิจัยเชิงคุณภาพ”  การอบรม “การแปลผลวิเคราะห์ข้อมูล (รายการหลักฐาน 50-5010-02)
- โครงการ “เครือข่ายครอบครัวเข้มแข็งใส่ใจสุขภาพ”  (โครงการย่อยของ บก.19) กำหนดให้มีนิสิตเข้าร่วมโครงการ  เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์ในการให้บริการเพิ่มขึ้นจากการเรียนการสอนปกติ  (รายละเอียดตามหลักการและเหตุผล, วัตถุประสงค์ของโครงการ และ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ในแบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน) (รายการหลักฐาน 50-5010-06)

ผลการดำเนินงาน :

ข้อมูลประกอบตัวบ่งชี้

หน่วยนับ

2549

2550

1 มีการจัดทำนโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนดำเนินงานของการบริการวิชาการแก่สังคม

ระดับ

-

/

2 มีคณะกรรมการ คณะทำงานหรือหน่วยงานดำเนินการให้บริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนด

ระดับ

-

/

3 มีการกำหนดหลักเกณฑ์และหรือระเบียบในการให้บริการวิชาการแก่สังคม

ระดับ

-

/

 4  มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนด

ระดับ

-

/

5  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริการวิชาการแก่สังคม

ระดับ

-

/

6  มีการจัดทำแผนการเชื่อมโยงและบูรณาการการบริการทางวิชาการแก่สังคมเข้ากับ การเรียนการสอนหรือการวิจัยหรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ระดับ

-

/

7  มีการประเมินสัมฤทธิผลและนำผลการประเมินไปพิจารณาปรับปรุงความเชื่อมโยง และบูรณาการระหว่างการบริการวิชาการแก่สังคมกับภารกิจอื่นๆ ของสถาบัน

ระดับ

-

-


 

เป้าหมายปีการศึกษา 2550

ระดับ

4

คะแนนมาตรฐาน(เต็ม 3 คะแนน)

คะแนน

2

การพัฒนาการ(มี = 1,ไม่มี = 0)

คะแนน

0.67

การบรรลุเป้าหมาย(บรรลุ= 1,ไม่บรรลุ=0)

คะแนน

1

สรุปคะแนนรวม(เต็ม 5 คะแนน)

คะแนน

3.67

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

มีการดำเนินการไม่ครบ 5 ข้อแรก

มีการดำเนินการ 5-6 ข้อแรก

มีการดำเนินการครบทุกข้อ

สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
ไม่มีการกำหนดเป้าหมายในปีการศึกษา 2550 ไว้  เนื่องจากในปีการศึกษา 2549  ไม่มีการประเมินในตัวบ่งชี้นี้   จึงนำตัวบ่งชี้นี้ไปอิงกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยตั้งไว้ที่ระดับ 4 สถาบันฯ ดำเนินการได้ถึง ระดับ 6  จึงถือว่าตัวบ่งชี้นี้ บรรลุเป้าหมาย 

 

การประเมินอิงพัฒนา :
ตัวบ่งชี้นี้ ไม่มีการประเมินในปีการศึกษา 2549  จึงต้องใช้สูตรการปรับค่าคะแนนตัวบ่งชี้ที่ไม่เคยมีมาก่อน  ทำให้ในตัวบ่งชี้นี้  ได้คะแนนปรับเพิ่ม  การอิงพัฒนา 0.67

รายการหลักฐาน :

รหัสเอกสาร

รายการ

50-5010-01

แผนปฏิบัติงานของผู้บริหารสถาบันฯ  ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2550

50-5010-02

แผนปฏิบัติงานของผู้บริหารสถาบันฯ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2551

50-5010-03

หนังสือขออนุมัติโครงการ

50-5010-04

รายงานการประชุม

50-5010-05

เอกสารประกอบการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริการวิชาการแก่สังคม

50-5010-06

โครงการ “เครือข่ายครอบครัวเข้มแข็งใส่ใจสุขภาพ”  (โครงการย่อยของ บก.19)

50-5010-07

กล่องเอกสารกลาง การบริการวิชาการ