วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ตัวบ่งชี้ 5.1    ระดับคุณภาพของคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์


ผู้กำกับติดตามตัวบ่งชี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป  จินงี่
โทรศัพท์  0-2649-5000 ต่อ 7626

ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล
นางสาวลักขณา  แซ่ลู้
โทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 7649

ข้อมูลที่ต้องการ :
การที่สภามหาวิทยาลัย/ สถาบัน  (รวมถึงกรรมการบริหารสถาบันในกรณีไม่มีสถาบัน)  มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการและให้ความสำคัญเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลและการพัฒนาสถาบันอย่างยั่งยืน โดยมีการบริหารที่ดี ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงความรับผิดชอบและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยในทางปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการของสถาบันตามหลักสากลจะดำเนินการโดยผ่านสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการกำหนดนโยบาย แผนงาน และกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อให้ฝ่ายบริหารและคณาจารย์ มีการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมายของสถาบันให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภายใต้ระบบการทำงานที่ดี  มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม  เน้นการกระจายอำนาจ  โปร่งใสและตรวจสอบได้  และมีระบบตรวจสอบการทำงานตามภารกิจของสถาบัน ตลอดจนจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงการทำงานและพัฒนาการทำงานที่ดียิ่งขึ้น   รวมทั้งมีความสามารถในการผลักดันสถาบันให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล  ดังนั้นบทบาทของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน  ในการกำกับดูแลที่ดี  จึงส่งผลต่อการดำเนินงานของสถาบันโดยตรง 
นอกจากนี้ ในเรื่องของรายงานทางการเงินและการเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใสนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการแสดงถึงความรับผิดชอบการทำงานขององค์กรต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายตลอดจนแสดงถึงความโปร่งใสที่พร้อมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถร่วมตรวจสอบการทำงานขององค์กรได้
ระบบงานที่สำคัญ มี 3 ด้าน ได้แก่
1. การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
2. การบริหารจัดการสารสนเทศ
3. การบริหารทรัพยากรบุคคล


ข้อมูลที่ต้องการ :
1. รายงานการประชุมของสภามหาวิทยาลัย/ สถาบันหรือกรรมการบริหารสถาบันหรือกลุ่มสาขาวิชา ที่แสดงถึงการให้ความเห็นชอบต่อแผนยุทธศาสตร์/ แผนกลยุทธ์ของสถาบัน/ กลุ่มสาขาวิชา
2. หลักฐานที่แสดงถึงการเปิดโอกาสให้ตรวจสอบสภามหาวิทยาลัย/ สถาบันหรือกรรมการบริหารสถาบัน หรือกลุ่มสาขาวิชา เช่นรายงานทางการเงิน สภาสถาบัน/ กรรมการบริหารสถาบัน กลุ่มสาขาวิชา มีส่วนร่วมในการกำหนดและให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์/แผนกลยุทธ์ และให้ข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ
3. รายงานการติดตามผลการดำเนินงานที่สำคัญตามภารกิจหลักของสถาบันอย่างครบถ้วน
4. แผนการประชุมของกรรมการสภาสถาบัน/ กรรมการบริหารสถาบัน หรือกลุ่มสาขาวิชา
5. จำนวนครั้งในการประชุมจริงของกรรมการสภามหาวิทยาลัย /สถาบัน / กรรมการบริหารสถาบัน หรือกลุ่มสาขาวิชา
6. หลักฐานจำนวนวันที่ส่งเอกสารให้กรรมการสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน หรือกรรมการบริหารสถาบัน หรือกลุ่มสาขาวิชาก่อนประชุม
7. ผลการประเมินผลงานของผู้บริหารสูงสุดของสถาบันหรือกลุ่มสาขาวิชา
8. หลักเกณฑ์การประเมินผลงานของผู้บริหารสูงสุดของสถาบันหรือกลุ่มสาขาวิชา


ผลการดำเนินงาน


ข้อมูลประกอบการประเมินตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน            ปีการศึกษา

เป้าหมาย
ในปีการศึกษา 2550

2547

2548

2549

ข้อ 1  กรรมการสภาสถาบัน / กลุ่มสาขา เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการดำเนินงาน

/

/

/

/

ข้อ 2  สภาสถาบัน / กลุ่มสาขา มีส่วนร่วมในการกำหนดและให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ และให้ข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ

/

/

/

/

ข้อ 3  สภาสถาบัน / กลุ่มสาขาติดตามผลการดำเนินงานที่สำคัญตามภารกิจหลักของสถาบันอย่างครบถ้วน มากกว่าปีละ 2 ครั้ง

-

-

-

-

ข้อ 4  มีการประชุมสภาสถาบัน / กลุ่มสาขา เข้าประชุมโดยเฉลี่ยอย่างต่ำ 7 วัน

/

/

/

/

ข้อ 5  มีกรรมการสภาสถาบัน / กลุ่มสาขา เข้าประชุมโดยเฉลี่ยอย่างต่ำร้อยละ 80

/

/

/

/

ข้อ 6  มีการส่งเอกสารให้กรรมการสภาสถาบัน / กลุ่มสาขา ก่อนประชุมโดยเฉลี่ยอย่างต่ำ 7 วัน

/

/

/

/

ข้อ 7  มีการประเมินผลงานของผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน / กลุ่มสาขาโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและตกลงกันไว้ล่วงหน้า

/

/

/

/


รายละเอียดเพิ่มเติม
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  บริหารจัดการภายใต้กรอบแผนกลยุทธ์  แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่  9  (พ.ศ. 2545 – 2549)   โดยมีประธานยุทธศาสตร์ฝ่ายต่าง ๆ    ซึ่งเป็นคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และผู้บริหารสถาบัน ฯ   เป็นผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบแผนงาน  จัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี   โดยให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน ฯ  เป็นประจำทุกปี  และผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้บริหารซึ่งเป็น  คณะกรรมการประจำสถาบัน ฯ  และที่ประชุม  Staff  ซึ่งประกอบด้วย  คณาจารย์และข้าราชการทั้งหมด
นอกจากนี้  การบริหารจัดการของสถาบัน ฯ จะดำเนินงานเป็นทีม  เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย    โดยการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการหรือกิจกรรมนั้น ๆ  
การควบคุมภายใน  มีการดำเนินการควบคุมในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบัน ฯ  เป็นอันดับแรก  ได้แก่  เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา  การเสนอเค้าโครงปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโท  และเรื่องการจัดหาพัสดุ 
การบริหารทรัพยากรบุคคล  สถาบัน ฯ  ให้การสนับสนุนทั้งบุคลากรฝ่ายวิชาการและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ โดยการจัดสรรงบประมาณประจำปีอย่างต่อเนื่องทุกปี  เพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุม  สัมมนา  อบรม  ศึกษาดูงาน  และเสนอผลงานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ


เอกสารอ้างอิง

รหัสเอกสารอ้างอิง

รายการเอกสารอ้างอิง

49–16A–0501-01

รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  ประจำปี  2549 (กล่องเอกสารกลาง)

49–16A–0501-02

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  ประจำปี  2549 (กล่องเอกสารกลาง)

49–16A–0501-03

รายงานการประชุมคณาจารย์และข้าราชการ  (Staff)  ประจำปี  2549
(กล่องเอกสารกลาง)

49–16A–0501-04

รายงานการติดตามผลการดำเนินงานที่สำคัญตามภาระกิจหลักของสถาบัน ฯ

49–16A–0501-05

แผนปฏิบัติงานการประชุมสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

49–16A–0501-06

จำนวนครั้งในการประชุมจริงของคณะกรรมการ  (บัญชีลงเวลาเข้าประชุม)

49–16A–0501-07

หลักฐานจำนวนวันที่ส่งเอกสารการประชุม (หนังสือเชิญประชุมพร้อมวาระการประชุม)

49–16A–0501-08

ผลการประเมินผลงานของผู้บริหารสูงสุด    (แฟ้มเอกสารลับ)

49–16A–0501-09

เอกสารการประเมินผลงานของผู้บริหารสูงสุด    (แฟ้มเอกสารลับ)


เกณฑ์การให้คะแนน / คะแนนที่ได้

  1.  การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (คะแนนเต็ม 3 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

 

คะแนนที่ได้

1 คะแนน

2 คะแนน

3 คะแนน

3

1 – 3 ข้อ

4 ข้อ

 5 ข้อ

2. การประเมินอิงพัฒนาการ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

 

คะแนนที่ได้

0 คะแนน

1 คะแนน

1

ไม่มีการพัฒนา

มีการพัฒนา

หมายเหตุ
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 หรือถ้าผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 3 คะแนน ถือว่ามีการพัฒนา

3. การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์   (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

 

คะแนนที่ได้

0 คะแนน

1 คะแนน

1

ไม่บรรลุตามเป้าหมายของแผน

บรรลุตามเป้าหมายของแผน

สรุปคะแนนการประเมินตัวบ่งชี้ 5.1

คะแนนที่ได้จากการประเมิน

รวมคะแนน

อิงเกณฑ์มาตรฐาน

อิงพัฒนาการ

อิงประสิทธิผลตามแผนฯ

5

3

1

1

 

ตัวบ่งชี้

น้ำหนัก
(1)

คะแนนที่ได้
(2)

ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก
(3) = (1) x (2)

5.1 ระดับคุณภาพของคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

1.67

5

8.35