ตัวบ่งชี้ 4.1 ร้อยละของโครงการ/ กิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมต่อจำนวนนักศึกษา
ผู้กำกับติดตามตัวบ่งชี้
ผศ.ประทีป จินงี่
โทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 7626 |
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล
นางสุพรรณา หนูรักษ์
โทรศัพท์ 7612 |
คำอธิบาย
ร้อยละของกิจกรรมที่สถาบันดำเนินการอนุรักษ์ พัฒนา สร้างเสริมวัฒนธรรมรวมถึงศิลปวัฒนธรรมและชีวิตวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ในการสนับสนุนดังกล่าวอาจกระทำโดยผ่านกระบวนการสร้างบัณฑิต งานวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ หรืออาจเป็นการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยตรง ต่อจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติเต็มเวลาเทียบเท่า
ลักษณะกิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม ประกอบด้วย
1) โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตและภูมิปัญญาไทย
2) โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทั้งของท้องถิ่นและของชาติ
3) โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและศรัทธาในสถาบันทางศาสนา
4) โครงการ/กิจกรรมที่ก่อให้เกิดระบบคุณค่าหรือค่านิยมที่นับถือความดีงามและคุณธรรม จริยธรรม
5) โครงการ/กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย
6) การแสดงศิลปวัฒนธรรมสากลและของชาติอื่นๆ
สูตรการคำนวณ
จำนวนโครงการ/ กิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรม
ในปีการศึกษานั้น |
X 100 |
จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติเต็มเวลาเทียบเท่าในปีการศึกษานั้น |
ข้อมูลที่ต้องการ :
1. จำนวนกิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมในปีการศึกษานั้น
2. จำนวนนักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติเต็มเวลาเทียบเท่า
หมายเหตุ
1. กรณีเป็นโครงการของสถาบัน และกลุ่มสาขาวิชาจัดกิจกรรมร่วมด้วย แต่ละกลุ่มสาขาวิชาสามารถนับเป็นกิจกรรมได้
2. กรณีงานที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานภายนอกและขอความร่วมมือให้สถาบันไปช่วย ให้สามารถนับได้
3. ลักษณะโครงการ/กิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม
3.1 โครงการ / กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและความภาคภูมิใจในวิถีชีวิต และภูมิปัญญาไทย กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศทางวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในวิถีชีวิต และภูมิปัญญาไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต คือ อาหารพื้นบ้าน ยารักษาโรคและการรักษาโรคแบบพื้นบ้าน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน บ้านเรือนหรือการตกแต่งอาคาร สถานที่ โดยเน้นวัฒนธรรมไทยหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น อาจเป็นกิจกรรม/โครงการ ที่หน่วยงานจัดขึ้นเองโดยตรง เช่น การจัดงานหรือนิทรรศการทางวัฒนธรรม กิจกรรมการประกวดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต เช่น การประกวดนกเขาชวา นกกรงหัวจุก การประกวดทำอาหารไทย เป็นต้น หรือ กิจกรรมที่หน่วยงานจัดสอดแทรกเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมหลักอื่น ๆ เช่น การจัดเลี้ยงอาหารพื้นบ้าน ในงานสัมมนาระดับต่าง ๆ หรือ การรณรงค์ให้บุคลากรและนักศึกษาแต่งกายชุดพื้นบ้าน การนำผ้าพื้นบ้านมาตัดเป็นเสื้อ 5 ส หรือแบบฟอร์มประจำหน่วยงาน เป็นต้น ตลอดจนการสนับสนุนให้มีกลุ่มหรือชมรมผู้สนใจกิจกรรมทางวัฒนธรรมด้านต่าง ขึ้นในหน่วยงาน เช่น กลุ่มดนตรีไทย กลุ่มวรรณกรรม เป็นต้น
3.2 โครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทั้งของท้องถิ่นและของชาติ
ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง แบบแผนการประพฤติปฏิบัติในโอกาสหรือเทศกาลต่าง ๆ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงศรัทธาความเชื่อ และค่านิยม เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ วันไหว้ครู วันลอยกระทง วันสงกรานต์ วันทำบุญเดือนสิบ การทำบุญวันว่าง เป็นต้น
3.3 โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและศรัทธาในสถาบันทางศาสนา โดย
ให้นับได้ทุกศาสนาที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดสันติสุขในปัจเจกบุคคลและสังคมโลก
ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการสวดมนต์และการตักบาตร การปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่น งานหล่อเทียนพรรษา การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า วันคริสต์มาส วันฮารีรายอ การส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการปฏิบัติศาสนกิจ เช่น ห้องละหมาด ห้องฝึกสมาธิ เป็นต้น
3.4 โครงการ/กิจกรรมที่ก่อให้เกิดระบบคุณค่าหรือค่านิยมที่นับถือความดีงามและคุณธรรม จริยธรรมในยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องคำนึงถึงบริบทและเงื่อนไขต่างๆ ที่เรื่องนั้นตั้งอยู่ในยุคปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอยู่นอกขอบเขต รูปแบบงานในเรื่องวิถีชีวิตของไทย หรือประเพณีไทย หรือที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางศาสนา ซึ่งนอกจากเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ ให้เกิดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ แล้วยังช่วยสร้างกิจกรรมเพื่อการดึงดูดให้เยาวชนไทยเกิดความตระหนักในเรื่องระบบคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรมมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมค่ายพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต การเข้าค่าย/ กิจกรรมพัฒนาจิต เป็นต้น ซึ่งอาจจัดสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น นักเรียน นักศึกษา เยาวชน บุคลากร สมาชิกในชุมชน เป็นต้น
3.5 โครงการ/กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น ดนตรีไทย และพื้นบ้าน ศิลปการแสดงของไทยและพื้นบ้าน ประดิษฐ์ศิลป์ไทยและพื้นบ้าน งานหัตถกรรมกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ อาจเป็นโครงการ/กิจกรรม ทั้งในส่วนที่จัดขึ้นเองโดยตรง หรือการให้บริการการแสดงแก่หน่วยงานต่าง ๆ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงนาฎศิลป์ ดนตรีไทย การแสดงโนรา การแสดงหนังตะลุง และการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ เช่น ตะกร้อไทย สะบ้า หมากขุม เป็นต้น หรือการนำกลุ่มนักศึกษา/บุคลากร ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่หน่วยงานอื่นจัดขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมทางศิลปะและวัฒนธรรมขึ้นเป็นต้น
3.6 การแสดงศิลปวัฒนธรรมสากลและของชาติอื่นๆ อันเป็นการแสดงถึงความเข้าใจวัฒนธรรมของชาติต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้นการจัดให้นักศึกษา เยาวชน ประชาชน มีประสบการณ์และการเรียนรู้วัฒนธรรมนานาชาติผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ นั้น มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่อย่างมีความเข้าใจที่ชัดเจนต่อวัฒนธรรมของตนเองและวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ อันเป็นวัฒนธรรมโดยรวมของโลก
ศิลปวัฒนธรรมสากลและชีวิตวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ที่สื่อออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ดนตรี ศิลปะการแสดง ประดิษฐ์ศิลป์ งานหัตถกรรม ศิลปกรรมต่างๆ ที่อาจจะสื่อสารออกมาในรูปแบบของการแสดงภาพยนตร์ภาพถ่าย ภาพเขียนนิทรรศการวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมที่หน่วยงานจัดขึ้นโดยตรง หรือการให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ หรือการเข้าร่วมชมกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การแสดงดนตรีสากลและดนตรีประจำชนชาติต่างๆ การแสดงจินตลีลาประกอบเพลง การประกวดดนตรีสากล การจัดการแสดงผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมประเภทต่างๆ เช่น นิทรรศการศิลปกรรม ประติมากรรม เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลประกอบการประเมินตัวบ่งชี้ |
ผลการดำเนินงานปีการศึกษา |
เป้าหมาย
ในปีการศึกษา 2550 |
2547 |
2548 |
2549 |
จำนวนกิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมในปีการศึกษานั้น |
12 |
13 |
12 |
|
จำนวนนักศึกษา |
- |
- |
138 |
|
ร้อยละของโครงการ/ กิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมต่อจำนวนนักศึกษา |
- |
- |
8.70 |
9.0% |
ในปีการศึกษา 2549 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มีโครงการ/ กิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน 8 โครงการ 4 กิจกรรม
โครงการ
1.โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรและนิสิตสถาบัน
2. โครงการปฐมนิเทศนิสิตสถาบันฯภาคเรียนที่ 2/49
3.โครงการส่งเสริมอุดมการณ์ปราชญ์ผู้ทรงศีล
4.โครงการบรรยายธรรม เรื่อง การฝึกสมาธิเพื่อการผ่อนคลายแบบสบาย ๆ
5.โครงการวิจัย เรื่อง ปัจจัยเชิงบูรณาการที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมของแกนนำชุมชนในภาคกลาง
6.โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วิถีครอบครัว วัฒนธรรมและการธำรงอยู่ของชุมชนลาวพวน จังหวัด นครนายก 7-9 ธ.ค.49
7.โครงการออกกำลังกายด้วยเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซี
8. โครงการโพชฌงคปริตเฉลิมพระเกียรติ
กิจกรรม
1.กิจกรรมวันไหว้ครู
2.กิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระเนื่องในวันครบรอบสถาบันฯ
3.กิจกรรมทอดกฐินของสถาบันฯร่วมกับมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมตามรอยภูมิไทย
4. กิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย งานวันสมเด็จพระเทพฯ
เอกสารอ้างอิง
รหัสเอกสาร |
รายการเอกสาร |
49-16A-0401-01 |
สรุปโครงการ / กิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรม |
เกณฑ์การให้คะแนน / คะแนนที่ได้
- การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (คะแนนเต็ม 3 คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน |
|
คะแนนที่ได้ |
1 คะแนน |
2 คะแนน |
3 คะแนน |
3 |
ร้อยละ 1 1.4 |
ร้อยละ 1.5 1.9 |
2.0 |
2.การประเมินอิงพัฒนาการ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน |
|
คะแนนที่ได้ |
0 คะแนน |
1 คะแนน |
1 |
ไม่มีการพัฒนา |
มีการพัฒนา |
หมายเหตุ
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 หรือถ้าผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 3 คะแนน ถือว่ามีการพัฒนา
3.การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์(คะแนนเต็ม 1 คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน |
|
คะแนนที่ได้ |
0 คะแนน |
1 คะแนน |
1 |
ไม่บรรลุตามเป้าหมายของแผน |
บรรลุตามเป้าหมายของแผน |
สรุปคะแนนการประเมินตัวบ่งชี้ 4.1
คะแนนที่ได้จากการประเมิน |
รวมคะแนน |
อิงเกณฑ์มาตรฐาน |
อิงพัฒนาการ |
อิงประสิทธิผลตามแผนฯ |
5 |
3 |
1 |
1 |
ตัวบ่งชี้ |
น้ำหนัก
(1) |
คะแนนที่ได้
(2) |
ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก
(3) = (1) x (2) |
4.1 ร้อยละของโครงการ/ กิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมต่อจำนวนนักศึกษา |
3.34 |
5 |
16.7 |
|