วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ตัวบ่งชี้ 3.3   มีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอน และการวิจัย

ผู้กำกับติดตามตัวบ่งชี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประทีป  จินงี่

โทรศัพท์  0-2649-5000 ต่อ 7626

ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล

นางสาวกรรณิการ์  สุขศรี

โทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 7646

คำอธิบาย
การที่สถาบันได้นำองค์ความรู้และมวลประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชนและประเทศชาติมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัย

 ข้อมูลที่ต้องการ :
1. แผนในการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการเรียนการสอนและ การวิจัย
2. โครงการ กิจกรรม หรือหลักฐานที่แสดงว่าได้นำองค์ความรู้และมวลประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชนและประเทศชาติมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัย


ผลการดำเนินงาน

ข้อมูลประกอบการประเมินตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงานปีการศึกษา

เป้าหมาย
ในปีการศึกษา 2550

2547

2548

2549

ระดับ 1  มีแผนในการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการเรียนการสอนและ การวิจัย

/

/

/

/

ระดับ 2  มีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนา   การเรียน การสอน อย่างน้อย 1 โครงการ

-

-

/

/

ระดับ 3  มีการนำความรู้ และประสบการณ์จากการบริการวิชาการ และวิชาชีพมาใช้ในการวิจัย อย่างน้อย 1 โครงการ

-

-

-

/

ระดับ 4  มีการนำความรู้ และประสบการณ์จากการบริการวิชาการ และวิชาชีพมาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัย อย่างน้อย 1 โครงการ

-

-

-

-

ระดับ 5  มีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนหรือการวิจัยกับการบริการวิชาการ/วิชาชีพ อย่างน้อย 1 โครงการ

-

-

-

-

 รายละเอียดเพิ่มเติม
ระดับ 1  มีแผนในการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการเรียน             การสอนและการวิจัย
                สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  มีแผนในการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัย  โดยสามารถดูได้จากการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการบริการวิชาการ  การกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ และแผนปฏิบัติงานของผู้บริหารสถาบันฯ  ตามยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 
-โครงการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ปีที่ 7 และ 8 ซึ่งให้นิสิตเข้าร่วมโครงการดังกล่าว  เพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลของนิสิต  สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์  (รายละเอียดตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)
- โครงการ “เครือข่ายครอบครัวเข้มแข็งใส่ใจสุขภาพ”  (โครงการย่อยของ บก.19) กำหนดให้มีนิสิตเข้าร่วมโครงการ  เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์ในการให้บริการเพิ่มขึ้นจากการเรียนการสอนปกติ  (รายละเอียดตามหลักการและเหตุผล, วัตถุประสงค์ของโครงการ และ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ในแบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน)
-แผนยุทธศาสตร์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อสังคม  ปีงบประมาณ 2549  มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการกระตุ้นให้มีการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนผ่านทางสื่อประเภทต่างๆ โดยให้เชื่อมโยงสืบเนื่องกับกระบวนการวิจัย  การเรียนการสอน  และเป็นการปฏิบัติการร่วมกันทั้งฝ่ายบุคลากร นิสิต  องค์กรอื่นของรัฐและเอกชน  โดยมีการจัดโครงการประชุมวิชาการด้านพฤติกรรมศาสตร์ ครอบรอบ 51 ปีสถาบันฯ
-แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์  ปีงบประมาณ 2549  มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพนิสิต  ส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมและจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์  เพื่อพัฒนานิสิตให้เป็นผู้มีความรู้ดีทั้งทางเนื้อหาวิชาการและวิธีวิทยาการวิจัย  มีจิตสำนึกเพื่อสังคมและมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม  โดยการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต
-แผนปฏิบัติงานยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์  ปีงบประมาณ 2550  เป้าหมายที่ 3 มีการกำหนดแผนให้นิสิตบริการวิชาการแก่สังคม   โดยให้นิสิตเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันฯ  เช่น โครงการ “พัฒนาครอบครัวเข้มแข็งและเยาวชนคุณภาพ  ด้วยเครือข่ายครอบครัว-โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครนายก”  และโครงการบริการวิชาการอื่นๆ ของสถาบันฯ

 ระดับ 2  มีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอน
                คณาจารย์สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน  ดังนี้

  1. โครงการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  นำมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนวิชา สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์ I  (วป 511) ประจำภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2549  โดยมีการสนับสนุนให้นิสิตเข้าร่วมโครงการเพื่อฝึกการวิเคราะห์ข้อมูล
  2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ” นำมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน วิชา การวิจัยเชิงคุณภาพ (วป 703) ประจำภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2549  โดยมีการให้นิสิตเข้าร่วมโครงการและนำนิสิตไปฝึกปฏิบัติจริง

 เอกสารอ้างอิง

รหัสเอกสาร

รายชื่อเอกสารอ้างอิง

49-16A-0303-01

โครงการบริการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ปีที่ 7

49-16A-0303-02

โครงการบริการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ปีที่ 8

49-16A-0303-03

โครงการ “เครือข่ายครอบครัวเข้มแข็งใส่ใจสุขภาพ” (โครงการย่อยของ บก.19)

49-16A-0303-04

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ”

49-16A-0303-05

แผนยุทธศาสตร์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อสังคม  ปีงบประมาณ 2549

49-16A-0303-06

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์  ปีงบประมาณ 2549

49-16A-0303-07

แผนปฏิบัติงานยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์  ปีงบประมาณ 2550

49-16A-0303-08

Course Syllabus วิชา สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์ I (วป 511) ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549

49-16A-0303-09

Course Syllabus วิชา การวิจัยเชิงคุณภาพ (วป 703) ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549

49-16A-0303-10

หนังสือบันทึกข้อความ เรื่อง ขออนุมัตินำนิสิตไปเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิจัยเชิงคุณภาพ”

49-16A-0303-11

หนังสือบันทึกข้อความ เรื่อง ขออนุญาตนำนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาไปร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชา การวิจัยเชิงคุณภาพ (วป 703)


 

เกณฑ์การให้คะแนน / คะแนนที่ได้

  1. การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (คะแนนเต็ม 3 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

 

คะแนนที่ได้

1 คะแนน

2 คะแนน

3 คะแนน

2

ระดับ 1

ระดับ 2

 ระดับ 3

 

2. การประเมินอิงพัฒนาการ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

 

คะแนนที่ได้

0 คะแนน

1 คะแนน

1

ไม่มีการพัฒนา

มีการพัฒนา

หมายเหตุ
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 หรือถ้าผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 3 คะแนน ถือว่ามีการพัฒนา

3. การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

 

คะแนนที่ได้

0 คะแนน

1 คะแนน

1

ไม่บรรลุตามเป้าหมายของแผน

บรรลุตามเป้าหมายของแผน

สรุปคะแนนการประเมินตัวบ่งชี้ 3.3


คะแนนที่ได้จากการประเมิน

รวมคะแนน

อิงเกณฑ์มาตรฐาน

อิงพัฒนาการ

อิงประสิทธิผลตามแผนฯ

4

2

1

1

 

ตัวบ่งชี้

น้ำหนัก
(1)

คะแนนที่ได้
(2)

ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก
(3) = (1) x (2)

3.3  มีการนำความรู้  และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอน และการวิจัย

4

4

16