ตัวบ่งชี้ที่ : |
2.4 |
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ |
ชนิดของตัวบ่งชี้ : |
ปัจจัยนำเข้า |
ระดับตัวบ่งชี้ : |
/ มหาวิทยาลัย |
/ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ |
แหล่งข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย : |
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี |
แหล่งข้อมูลระดับคณะ/สถาบัน : |
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ (ผู้เก็บข้อมูล : วนิดา ธรรมเกษร) |
ข้อมูลประกอบ :
สัดส่วนของนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ ให้เปรียบเทียบจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท ปริญญาเอก) และนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนเต็มเวลา ต่ออาจารย์ประจำ นับเฉพาะอาจารย์ที่ปฏิบัติงานจริง
นักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า หมายถึง นักศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาและได้มีการลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้น ข้อพิจารณาการนับรวมนักศึกษาภาคปกติกับนักศึกษาภาคพิเศษในการคำนวณค่าตัวชี้วัดนี้ ให้ใช้เกณฑ์การพิจารณาดังนี้ หากการสอนในช่วงเวลาพิเศษดังกล่าว สถาบันได้มีการคำนวณเป็นภาระงานสอนของอาจารย์และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นการพิเศษในการสอนนอกเวลา ให้ถือว่านักศึกษาดังกล่าวเป็นนักศึกษาภาคปกติ แต่หากสถาบันมิได้นับว่าการสอนดังกล่าวเป็นภาระงานของอาจารย์ หรือได้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับการสอนดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือน ให้นับว่านักศึกษาดังกล่าวเป็นนักศึกษาภาคพิเศษ ทั้งนี้ สำหรับการนับจำนวนนักศึกษาของตัวชี้วัดนี้ให้นับได้ทั้งนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษาภาคพิเศษ
นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ให้นับรวมถึงนักศึกษาภาคปกติ ภาคพิเศษ และนักศึกษานอกเวลา ในการคำนวณค่านักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าของระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ต้องปรับจำนวนนักศึกษา เต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นระดับปริญญาตรีเพื่อให้อยู่ในหน่วยวัด (SCALE) เดียวกัน ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของคณะได้ การปรับค่าดังกล่าวมีวิธีการ โดยคำนวณจากสัดส่วนเกณฑ์มาตรฐานระหว่างอาจารย์ต่อนักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรีกับสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์การจัดกลุ่มสาขาวิชามาตรฐานสากล (International Standard Classification of Education : ISCED) ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 4.1. การปรับค่า FTES ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกให้เป็นหน่วยวัดเดียวกับ FTESระดับปริญญาตรี และค่าปกติของ FTES ระดับปริญญาตรีต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
สาขา |
ตัวปรับค่า
(นำไปคูณกับค่า FTES ระดับปริญญาตรี) |
เกณฑ์ FTES ต่ออาจารย์ประจำ |
1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ |
1 |
1 : 8 |
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ |
2 |
1 : 20 |
3. วิศวกรรมศาสตร์ |
2 |
1 : 20 |
4. สถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง |
1 |
1 : 8 |
5. เกษตร ป่าไม้และประมง |
2 |
1 : 20 |
6. บริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี |
1.8 |
1 : 25 |
7. ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ |
1.5 |
1 : 25 |
8. ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ |
1.8 |
1 : 8 |
9. สังคมศาสตร์/ มนุษยศาสตร์ |
1.8 |
1 : 25 |
ในปีการศึกษา 2550 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนิสิตเต็มเวลา รวมทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ 146 คน มีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง 12.5 คน (ดร.นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล ปฏิบัติงาน 6 เดือน ได้ 0.5 คน) ดังนั้นจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ต่อจำนวนอาจารย์ประจำเท่ากับ 135.15
ผลการดำเนินงาน :
ข้อมูลประกอบตัวบ่งชี้ |
หน่วยนับ |
2549 |
2550 |
1.จำนวนนักศึกษารวมทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ |
คน |
128 |
146 |
2. จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง |
คน |
15 |
12.5 |
3. จำนวนของ FTES ต่ออาจารย์ประจำของสถาบันจริง |
สัดส่วน |
98.55 |
135.15 |
4. เกณฑ์มาตรฐานของ FTES ต่ออาจารย์ประจำของสถาบัน |
สัดส่วน |
1 : 6.16 |
1 : 10.81 |
5. ร้อยละความแตกต่าง |
สัดส่วน |
75.36 |
56.76 |
เป้าหมายปีการศึกษา 2550 |
สัดส่วน |
1 : 10 (60%) |
คะแนนมาตรฐาน (เต็ม 3 คะแนน) |
คะแนน |
1 |
การพัฒนาการ (มี = 1,ไม่มี = 0) |
คะแนน |
0 |
การบรรลุเป้าหมาย(บรรลุ= 1,ไม่บรรลุ=0) |
คะแนน |
1 |
สรุปคะแนนรวม(เต็ม 5 คะแนน) |
คะแนน |
2 |
เกณฑ์การประเมิน : |
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
> +10% หรือ < -10 %
ของเกณฑ์มาตรฐาน |
6 9.99 % และ -6 (-9.99)%
ของเกณฑ์มาตรฐาน |
(-5.99) -5.99 % ของเกณฑ์มาตรฐาน |
สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย :
- ระดับสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2549
การประเมินอิงพัฒนา :
ข้อมูลอ้างอิง :
รหัสเอกสาร |
รายการข้อมูล |
50-0240-01 |
รายงานการวิเคราะห์จำนวนหน่วยกิตนิสิต (SCH) และนิสิตเต็มเวลา (FTES) ปีการศึกษา 2549 |
50-0240-02 |
รายงานการวิเคราะห์จำนวนหน่วยกิตนิสิต (SCH) และนิสิตเต็มเวลา (FTES) ปีการศึกษา 2550 |
|