วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ตัวบ่งชี้ 1.4 ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต

ผู้กำกับติดตามตัวบ่งชี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป จินงี่ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล นางสาวอุษา ศรีจินดารัตน์
โทรศัพท์ 02-6495000 ต่อ 7626 โทรศัพท์ 02-6495000 ต่อ 7639

คำอธิบาย
ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิต หมายถึง ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิตหรือผู้รับบริการ จากการประเมินบัณฑิตที่ทำงานด้วยตั้งแต่ 1-3 ปี โดยพิจารณาคุณสมบัติที่ครอบคลุมคุณสมบัติหลัก 3 ด้านของบัณฑิตที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงานในสาขานั้นๆ ความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน และคุณธรรม จริยธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยระดับความพึงพอใจให้สำรวจโดยใช้คะแนน 5 ระดับ แต่หากสถาบันมีการสำรวจไว้เดิมแล้วโดยใช้ระดับคะแนนแบบ 4 ระดับ ให้ทำการปรับเทียบระดับคะแนนให้เป็น 5ระดับ โดยใช้สูตรดังนี้

y = mx + c
เมื่อ y = คะแนนใหม่ที่ปรับแล้ว
X = คะแนนที่ประเมินได้
m = 4/3
c = (-1/3)

ข้อมูลที่ต้องการ :
1. ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิตหรือผู้รับบริการ ที่มีต่อบัณฑิต

หมายเหตุ สมศ. จะจัดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อการจัดเก็บข้อมูลตัวบ่งชี้ที่ 1.1 – 1.4 แต่ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยควรดำเนินการสำรวจข้อมูลในประเด็นตามตัวบ่งชี้ที่ 1.1 –1.4 และประเด็นที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของสถาบันด้วย

ปีการศึกษา2548-2549 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์สามารถติดต่อนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ตอบแบบสำรวจจำนวน 5 คน มีระดับความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีต่อบัณฑิต สาขาวิชา การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.60 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน

เอกสารอ้างอิง

รหัสเอกสาร รายชื่อเอกสารอ้างอิง
49-16A-0104-01 รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2547
49-16A-0104-02 รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2548
49-16A-0104-03 ผลสำรวจความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีต่อบัณฑิต สาขาวิชา การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2548-2549

 

เกณฑ์การให้คะแนน / คะแนนที่ได้

1. การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (คะแนนเต็ม 3 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได้
1 คะแนน
2 คะแนน
3 คะแนน
3
ค่าเฉลี่ย 1 – 2.4
ค่าเฉลี่ย 2.5 – 3.4
ค่าเฉลี่ย 3.5

2. การประเมินอิงพัฒนาการ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได้
0 คะแนน
1 คะแนน
1
ไม่มีการพัฒนา
มีการพัฒนา
หมายเหตุ
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 หรือถ้าผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานครั้งที่ 2 อยู่ในระดับ 3 คะแนน ถือว่ามีการพัฒนา

3. การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์(คะแนนเต็ม 1 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนนที่ได้
0 คะแนน
1 คะแนน
1
ไม่มีการปฏิบัติตามแผน
มีการปฏิบัติตามแผน

สรุปคะแนนการประเมินตัวบ่งชี้ 1.4

คะแนนที่ได้จากการประเมิน
รวมคะแนน
การประเมิน
อิงพัฒนาการ
มีการปฏิบัติตามแผน
5
3
1
1

 

ตัวบ่งชี้
น้ำหนัก
(1)
คะแนนที่ได้
(2)
ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก
(3) = (1) x (2)
1.4 ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต
2.15
5
10.75