มาตรฐาน 1 มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต
บัณฑิตเป็นผู้เรืองปัญญา มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทักษะและภูมิปัญญาในงานอาชีพในฐานะนักวิชาชีพชั้นสูง
มีทักษะวิจัยในฐานะนักวิชาการชั้นสูง มีจิตสำนึกและภูมิธรรมในฐานะพลเมืองดีของสังคมไทยและสังคมโลก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวบ่งชี้ 1.0 กระบวนการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ และมีงานทำ โดยจัดกิจกรรมต่อไปนี้เป็นพื้นฐาน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
P มีแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิต และ
เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
D จัดกิจกรรมตามแผนที่ได้กำหนด
C ติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ
A ใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการจัดกิจกรรม
รายละเอียดเพิ่มเติม
P มีแผนการเพื่อส่งเสริมกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิต และเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มีการกำหนดแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิตและเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545 ปรากฎในวัตถุประสงค์ของหลักสูตร คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา
วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ระบบการศึกษา และจำนวนนิสิตที่จะรับแต่ละระดับ
เป็นต้น
2. ยุทธศาสตรการบริหารสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2547 ดังนี้ ปรากฏ ในที่ต่าง ๆ ดังนี้
- ปณิธานที่ว่า สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มุ่งทำวิจัย และผลิตบัณฑิตเพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตของคนไทย
- เป้าหมายของยุทธศาสตร์ ข้อ 3 (หน้า 2) สร้างนักวิจัยที่มีความสามารถสูงและมีคุณธรรม
- ในยุทธศาสตร์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อสังคม ข้อ 2.2 (หน้า 5) จัดประชุมบุคลากรของสถาบัน
ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของสาขาการวิจัยพฤติกรรมสาสตร์ประยุกต์
- ในยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์ (หน้า 8-9 ) ข้อ 4
ผลึกกำลังทางวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อการผลิตบัณฑิตและสร้างองค์ความรู้
- ในยุทธศาสตร์สื่อการศึกษาและสังคมสัมพันธ์ (หน้า 16) ข้อ 4 สร้างความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าของสถาบันด้วยการส่งข่าวสารเชิดชูและชื่นชมศิษย์เก่าประสานกับชมรมศิษย์เก่า
จัดทำทำเนียบศิษย์เก่า และเชิญศิษย์เก่ามาร่วมเสนอผลงานทางวิชาการตามโอกาสอันควร
โดยให้ศิษย์ปัจจุบันมีส่วนร่วมในกิจกรรมสานสัมพันธ์
3. แผนการดำเนินงานของผู้บริหารสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ
2549 ได้กล่าวถึงแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิตเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
ดังนี้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต
- ยุทธศาสตร์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อสังคม ได้แก่ การจัดประชุมวิชาการด้านพฤติกรรมศาสตร์สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ครบรอบ
51 ปี เรื่อง การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคม
- ยุทธศาสตร์สื่อการศึกษาและสังคมสัมพันธ์ ได้แก่ แผนงานสื่อการศึกษาและสังคมสัมพันธ์โดยการตีพิมพ์บทความวิจัยที่คัดสรรแล้วอันเป็นผลงานของอาจารย์
และบัณฑิตของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์แล้วเผยแพร่ความรู้ไปยังเครือข่าย
เช่น ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน หรือหน่วยงานที่เคยร่วมงานวิจัย
D จัดกิจกรรมตามแผนที่ได้กำหนดไว้
ในปีการศึกษา 2549 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม / โครงการ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิต
และเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ที่ได้กำหนดไว้ ตามแผนที่ได้ตั้งไว้ดังนี้
1. กิจกรรมเพื่อดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิตระดับบัณฑิตและเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มีรายการดังนี้
- การทำข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลประกอบการพิจารณาขอเปิดรับนิสิตใหม่ ปีการศึกษา
2549 โดยการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณะกรรมการประจำสถาบันฯ
- การออกข้อสอบโดยการตรวจความเหมาะสมของข้อสอบที่ใช้สอบคัดเลือก ประจำปีการศึกษา
2549
- การตัดสินผลการสอบคัดเลือกระดับบัณฑิตขั้นต้น
- จัดทำคู่มือนิสิต วท.ม. ประจำปีการศึกษา 2549
- โครงการพัฒนาเค้าโครงและปริญญานิพนธ์
2. โครงการประชุมวิชาการทางพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคม เนื่องในโอกาสครบรอบ
51 ปี สถาบันวิจัยพฤติกรรมสาสตร์ เมื่อวันที 25 สิงหาคม 2549 ซึ่งปรากฏว่า
มีศิษย์เก่า ได้มาร่วมเสนอผลงานวิจัย หรือมาร่วมงานประชุมและพบปะสังสรรค์
ในเครือข่ายศิษย์เก่าของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
3. โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เรื่อง การเขียนบทความวิชาการตาม APA Style
โดย อ.ดร.ดวงเดือน แซ่ตัง ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์ เมื่อวันที่
15 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ห้องเรียนรวม สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
4. จัดทำ จดหมายข่าว สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย
ทั้งของคณาจารย์และบัณฑิตของสถาบันวิจัยพฤติกรรมสาสตร์ ตลอดจนกิจกรรมที่ทั้งคณาจารย์และนิสิต
ซึ่งเผยแพร่ไปยังเครือข่ายได้แก่ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน
5. จัดทำทำเนียบศิษย์เก่า (รุ่นศิษย์) ประจำปี 2549
C ติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ
การจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ทางสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ จะมีการติดตามความก้าวหน้าของการประเมินกิจกรรมที่จัดขึ้น
ได้แก่ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต และโครงการประชุมวิชาการทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคม
A ใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการจัดกิจกรรม / โครงการ
ได้ตอบแบบสอบถามแล้วคณะกรรมการฝ่ายประเมินผลการจัดโครงการ / กิจกรรม ได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลและประเมินผล
การจัดโครงการ / กิจกรรม หลังจากนั้นจะนำผลนี้ได้แจ้งให้ที่ประชุมอาจารย์และข้าราชการ
ที่ประชุมคณะกรรมการหลีกสูตรฯ ทราบเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินการจัดโครงการ
/ กิจกรรม
วิธีการประเมิน
มีการกระทำครบทั้ง 4 ข้อ ให้ 3 คะแนน
มีการกระทำ 3 ข้อ ให้ 2 คะแนน
มีการกระทำ 2 ข้อ ให้ 1 คะแนน
มีการกระทำ 1 ข้อ และน้อยกว่า ให้ 0 คะแนน
เอกสารอ้างอิง
รหัสเอกสาร |
ชื่อเอกสาร |
49-16A-0100-01 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมสาสตร์ประยุกต์
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545 |
49-16A-0100-02 |
ยุทธศาสตร์การบริหารสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2547 |
49-16A-0100-03 |
แผนการดำเนินงานของผู้บริหารสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ
2549 |
49-16A-0100-04 |
เอกสารกิจกรรมเพื่อดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิต |
49-16A-0100-05 |
คู่มือนิสิต วท.ม. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ |
49-16A-0100-06 |
โครงการประชุมวิชาการทางพฤติกรรมสาสตร์เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคม เนื่องในโอกาสครอบรอบ
51 ปี สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2549 |
49-16A-0100-07 |
โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เรื่องการเขียนบทความวิชาการตาม APA Style |
49-16A-0100-08 |
โครงการพัฒนาเค้าโครงและปริญญานิพนธ์ |
49-16A-0100-09 |
จดหมายข่าว สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ |
49-16A-0100-10 |
ทำเนียบศิษย์เก่า |
49-16A-0100-11 |
สรุปผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ผู้บริหาร สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 |
49-16A-0100-12 |
เอกสารการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ |
เกณฑ์การให้คะแนน / คะแนนที่ได้
1. การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (คะแนนเต็ม 3 คะแนน)
0 |
1 |
2 |
3 |
คะแนนที่ได้ |
มีการกระทำ 1 ข้อ หรือน้อยกว่า |
มีการกระทำ 2 ข้อ |
มีการกระทำ 3 ข้อ |
มีการกระทำ 4ข้อ |
3 |
|
|
|
|
|
2. การประเมินอิงพัฒนาการ (คะแนนเต็ม 1 คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน |
คะแนนที่ได้ |
0 คะแนน
|
1 คะแนน |
1 |
ไม่มีการพัฒนา |
มีการพัฒนา |
หมายเหตุ
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 หรือถ้าผลการประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานครั้งที่
2 อยู่ในระดับ 3 คะแนน ถือว่ามีการพัฒนา
3. การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
(คะแนนเต็ม 1 คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน |
คะแนนที่ได้ |
0 คะแนน
|
1 คะแนน |
1 |
ไม่มีการปฏิบัติตามแผน |
มีการปฏิบัติตามแผน |
สรุปคะแนนการประเมินตัวบ่งชี้ 1.0
คะแนนที่ได้จากการประเมิน |
รวมคะแนน |
การประเมิน |
อิงพัฒนาการ |
มีการปฏิบัติตามแผน |
5 |
3 |
1 |
1 |
ตัวบ่งชี้ |
น้ำหนัก
(1)
|
คะแนนที่ได้
(2)
|
ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก
(3) = (1) x (2) |
1.0กระบวนการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต |
2.10 |
5 |
10.5 |
|