วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

คำนำ

รายงานการประเมินตนเอง ของ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อให้บุคลากรของสถาบัน ทุกท่านได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านต่างๆ และประเมินคุณภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ของงาน อีกทั้งวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของสถาบัน เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการทำงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และใช้เป็นเอกสารเพื่อการประเมินจากบุคคลภายนอก


รายงานฉบับนี้ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นส่วนนำ กล่าวถึงความเป็นมา วิสัยทัศน์ จุดประสงค์ และลักษณะทั่วไปของหน่วยงาน ส่วนที่สอง เป็นส่วนสาระ กล่าวถึงผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งแบ่งเป็น 7 มาตรฐาน 53 ตัวบ่งชี้ โดยตัวบ่งชี้จะแบ่งเป็น ตัวบ่งชี้ร่วม 46 ตัวบ่งชี้ และ ตัวบ่งชี้เฉพาะ 7 ตัวบ่งชี้ ส่วนที่สาม เป็นการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน จุดแข็ง-จุดอ่อน การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง ข้อเสนอแนะ และ ส่วนที่สี่ เป็นภาคผนวก สำหรับรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2549 จะทำการประเมินผลการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2549 ถึง พฤษภาคม 2550 และได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์โดยบุคลากรทั้งหมดของสถาบัน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 เพื่อให้บุคลากรสถาบันมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
รายงานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของบุคลากรของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ทุกท่าน โดยเฉพาะคณะทำงานฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2549 และเจ้าหน้าที่จัดทำรูปเล่มรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2549 ทุกท่าน สถาบันขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ด้วย


(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี)
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
ตุลาคม 2550