วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ยุทธศาสตร์การบริหารสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

เป้าหมาย

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ มีเป้าหมายที่จะสร้างองค์ความรู้ และประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย และผลิตนักวิจัยที่มีความสามารถและมีคุณธรรม ทั้งบริการความรู้สู่ประชาชน โดยยึดหลักการทำงานเป็นคณะ การกระจายอำนาจ ส่งเสริมขวัญกำลังใจของบุคลากร และยึดเป้าหมายและพันธกิจของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 ของร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. …. ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญา เพื่อพัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีดุลยภาพ ดังนั้นในการบริหารสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ในอีก 4 ปีข้างหน้า คณะผู้บริหารจะยึดเป้าหมายดังที่กล่าวข้างต้นคือ
1. สร้างองค์ความรู้ที่มีมาตรฐานเป็นเลิศ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไทย และเพื่อความเจริญงอกงามทางวิชาการ
2. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทั้งในสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ และสนับสนุนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย และในชุมชน
3. สร้างนักวิจัยที่มีความสามารถสูงและมีคุณธรรม
4. เผยแพร่ความรู้ให้เข้าถึงประชาชนในวงกว้าง และในกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
5. สืบสาน และสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่ดีงาม และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

หลักการบริหาร

ในการบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ คณะผู้บริหารยึดหลักการดังนี้
1. การบริหารตามยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการบริหารแบบแนวราบ และกระจายอำนาจ
2. การดำเนินการสอดประสานกันในแต่ละยุทธศาสตร์
3. การทำงานเป็นคณะ โดยให้บุคลากรมีส่วนร่วมรับรู้ คิด และตัดสินใจ
4. การมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี ซึ่งหมายรวมถึงความเจริญงอกงามในอาชีพความสุขใจในการทำงาน และสุขลักษณะทางกายภาพ

ยุทธศาสตร์การบริหารและแผนงาน

ประธานยุทธศาสตร์ ดร.พรรณี บุญประกอบ

เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาระบบงานบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีระบบการทำงานที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างรวดเร็ว มีระบบควบคุมและติดตามงานให้เป็นไปตามนโยบาย มีการจัดทำแผนงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบัน การจัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนงานและการบริหารเงินงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การพัฒนาบุคลากรทั้งฝ่ายคณาจารย์ และฝ่ายสนับสนุนทางวิชาการ พร้อมทั้งการส่งเสริมลักษณะทางกายภาพให้เอื้อต่อการทำงานที่มีความสะดวกสบายถูกสุขลักษณะ และเกิดความสุขในการทำงาน

ยุทธศาสตร์หลัก
1. จัดทำแผนการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้มีเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบัน
2. จัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนงานและบริหารเงินงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. พัฒนาระบบการทำงานในสำนักงานผู้อำนวยการ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถประสานและตอบสนองกับภารกิจต่าง ๆ ของสถาบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรทั้งฝ่ายคณาจารย์และฝ่ายสนับสนุนวิชาการให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้น และมีความก้าวหน้าในทุกสายงาน
5. ปรับปรุงสภาพทางกายภาพให้ถูกสุขลักษณะและมีบรรยากาศส่งเสริมการทำงานให้ได้รับความสะดวกสบายและเกิดความสุขในการทำงานมากขึ้น
6. ส่งเสริมสวัสดิการแก่บุคลากรของสถาบัน

ยุทธศาสตร์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อสังคม

ประธานยุทธศาสตร์ รองศาสตราจารย์งามตา วนินทานนท์

เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้จากการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิตและประสิทธิผลการทำงานของคนไทย โดยเร่งสร้างความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ และผลของคุณลักษณะและพฤติกรรมที่สำคัญของคนไทยยุคใหม่วัยต่าง ๆ ค้นคว้าวิธีการเสริมสร้างและพัฒนาคุณลักษณะและพฤติกรรมที่น่าปรารถนา เผยแพร่ความรู้และแนวการพัฒนาสู่เครือข่ายองค์กรและชุมชนที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันบรรเทาปัญหาสังคมและเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไทย

ยุทธศาสตร์หลัก
1. สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาของสังคมไทย โดยกระบวนการวิจัยหลากหลาย ที่ให้ผู้เกี่ยวข้องมีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการวิจัย
1.1 จัดประชุมบุคลากรของสถาบันร่วมกับบุคลากรจากหน่วยอื่นในมหาวิทยาลัยที่มีศาสตร์และความสนใจใกล้เคียงกัน ระดมความคิดเพื่อสร้างโครงการวิจัยแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับปัญหาสังคมไทย ประเด็นปัญหาการวิจัยที่เป็นไปตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและแหล่งทุนที่สำคัญ
1.2 สนับสนุนและประสานงานให้บุคลากรสถาบันทำวิจัยแบบบูรณาการที่เน้นปัญหาสังคม โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเสริมสร้างป้องกันและแก้ไขปัญหานั้น ๆ เพื่อสามารถนำผลการวิจัยลงสู่การประยุกต์ใช้พัฒนาประชากรระดับรากหญ้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
1.3 ติดตามการดำเนินการและความเคลื่อนไหวของแหล่งทุนสำคัญ ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเสนอเค้าโครงการวิจัยของสถาบัน
2. สืบสานการวิจัยในเรื่องที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญและเป็นนโยบายของสถาบันที่ให้การสนับสนุนการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง
2.1 จัดทำเอกสารประมวลผลผลิตจากการวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ของคณาจารย์และนิสิตระดับปริญญาโทและเอกของสถาบัน เพื่อทบทวนความรู้ ได้ทราบทิศทาง จุดแข็งและจุดอ่อน ในงานวิจัยของสถาบัน ทำให้สามารถวางแนวทางในการสนับสนุนการทำวิจัยของคณาจารย์และนิสิตสถาบันได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
2.2 จัดประชุมบุคลากรของสถาบัน ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันของสาขาการวิจัยพฤติกรรม
ศาสตร์ประยุกต์ เพื่อหากลุ่มบุคคลและหัวหน้าที่สามารถทำวิจัยในเรื่องที่เป็นความ
เชี่ยวชาญของสถาบัน เพื่อสืบสานและต่อยอดงานวิจัยของสถาบัน
3. ส่งเสริมการทำวิจัยร่วมนักวิชาการจากหน่วยงานต่างประเทศ ร่วมกับฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของสถาบัน ติดต่อกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทั้งที่เคยมีการติดต่อสัมพันธ์ทางวิชาการแล้ว และแหล่งอื่นๆ เพื่อแสวงหาความสนใจร่วมกันในการทำโครงการวิจัยแบบข้ามวัฒนธรรม
4. กระตุ้นให้มีการเผยแพร่ความรู้ให้เข้าถึงชุมชนผ่านทางสื่อประเภทต่าง ๆ โดยให้เชื่อมโยงสืบเนื่องกับกระบวนการวิจัย และการเรียนการสอน และเป็นการปฏิบัติการร่วมกันทั้งฝ่ายบุคลากร นิสิต องค์กรอื่นของรัฐและเอกชน
4.1 จัดตั้งหน่วยส่งเสริมและประสานงานวิจัย เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและให้คำปรึกษาแก่คณาจารย์และนิสิตในสถาบันและในมหาวิทยาลัยโดยรวมที่ต้องการแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย ช่วยเหลือติดต่อประสานงานกับแหล่งรวมของผู้ให้ข้อมูล วิทยากรผู้ให้คำปรึกษาการวิจัย ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการขอรับบริการฐานข้อมูลงานวิจัย ใช้เครื่องมือวัดและชุดฝึกอบรมของสถาบัน
4.2 เผยแพร่เอกสารความรู้ และ/หรือการให้คำปรึกษาในเรื่องที่สถาบันการศึกษา และมีความเชี่ยวชาญ เช่น เรื่องการปลูกฝังอบรมเด็กวัยต่าง ๆ ในงานบริการวิชาการที่สถาบันหรือมหาวิทยาลัยจัดขึ้น ในโอกาสต่าง ๆ จัดกิจกรรมหรือร่วมงานในโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชนที่ให้บุคลากร และนิสิตเข้าสู่ชุมชน ร่วมคิดกับชาวบ้าน
4.3 ถึงการพัฒนาที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อนำความรู้จากการวิจัยสู่การปฏิบัติ เช่น โครงการเสริมสร้างชุมชนพัฒนา โครงการฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
5. ส่งเสริมกระบวนการทำวิจัยของสถาบันให้มีคุณภาพและสำเร็จโดยไม่ล่าช้า

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้และวิเทศสัมพันธ์

ประธานยุทธศาสตร์ ดร.วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี

เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตทางพฤติกรรมศาสตร์ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศและของผู้เรียน ทั้งหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นปัญญา พัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักวิจัยที่มีความสามารถสูง มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกเพื่อสังคม และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม และเพื่อสร้างและสนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์หลัก
1. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ปัญญา
2. ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและผู้เรียน
3. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรในวงกว้าง เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เข้าศึกษา
4. ผนึกกำลังทางวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อการผลิตบัณฑิตและสร้างองค์ความรู้
5. พัฒนาหลักสูตรของสถาบันให้มีความเป็นสากล เพื่อนำไปสู่การเป็นหลักสูตรนานาชาติ
6. พัฒนานิสิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ดีทั้งวิธีวิทยาการวิจัยและเนื้อหาพฤติกรรมศาสตร์ มีจิตสำนึกเพื่อสังคมและมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
7. ส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยให้มีการรับรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคลากร นิสิต บุคคล และสังคมภายนอก
8. ติดต่อ สานความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือเชิงวิทยาการกับวิทยากรและหน่วยงานต่างประเทศ
9. จัดตั้งหน่วยประสานงานการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยคณาจารย์ นิสิต และสถาบันการศึกษาภายนอก และเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิต

ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการประกันคุณภาพ

ประธานยุทธศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป จินงี่

เป้าหมายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีฐานข้อมูล งานวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการและงานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและงานบริหารทั่วไป ของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ โดยมุ่งหวังให้ผู้บริหาร คณาจารย์ และ ข้าราชการของสถาบันได้ใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผน การตัดสินใจ ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาและการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่องานการเรียนการสอน งานวิจัย และงานบริหารงานทั่วไปตามความเหมาะสมและศักยภาพของสถาบัน

ยุทธศาสตร์หลัก
1. ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและจัดเตรียมข้อมูลของงานวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานบริหารทั่วไป
2. จัดทำระบบฐานข้อมูล งานด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีระบบที่สะดวกต่อการเรียกใช้ข้อมูล
3. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและศักยภาพการทำงานของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อเตรียมไว้สำหรับนำเสนอต่อ ผู้บริหาร ในกรณีที่ต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนงาน การตัดสินใจในการพัฒนางานของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

เป้าหมายงานด้านประกันคุณภาพ
เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพให้มีรูปแบบที่ชัดเจน มีการดำเนินงาน มีการประเมินผลการดำเนินงาน และนำผลการประเมินประกันคุณภาพไปปรับใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนางานทั้งที่เป็นงานวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานบริหารทั่วไป ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ยุทธศาสตร์หลัก
1. ดำเนินการประสานงานการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพในงานวิชาการงานวิจัย งานบริการวิชาการ งานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานบริหารทั่วไปของสถาบัน
2. พัฒนาระบบประกันคุณภาพให้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเริ่มจากการนำเสนอประเด็นของการประกันคุณภาพในงานนั้น การดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ การประเมินผลการประกันคุณภาพ และการนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนางานต่อไป
3. ดำเนินการประสานงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์กับงานประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ฝ่ายสื่อการศึกษาและสังคมสัมพันธ์

ประธานยุทธศาสตร์ ดร.มนัส บุญประกอบ

เป้าหมาย
เพื่อเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อมวลชนสู่สังคมภายนอก ด้วยการสร้างสื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบในอันที่จะช่วยกระตุ้นและพัฒนาสังคม อีกทั้งประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักแก่สังคมภายนอกมากยิ่งขึ้นในด้านชื่อเสียงและเกียรติคุณทางวิชาการของสถาบัน ตลอดจนมุ่งสร้างสัมพันธ์อันดีกับศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่ารุ่นต่าง ๆ ของสถาบัน อันอาจเป็นการช่วยเสริมสร้างเครือข่ายทางวิชาการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นและก้าวหน้าสืบต่อไป

ยุทธศาสตร์หลัก
1. เร่งรัดการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ตลอดจนเว็บไซต์
2. สร้างสื่อการเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้รูปแบบต่าง ๆ ให้แก่สังคมในวงกว้างทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปเอกสารตำราและสื่ออื่น ๆ
3. เร่งรัดการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานเป็นที่รู้จักแก่สังคมภายนอก โดยให้มีการจัดกลุ่มติดตามสถานการณ์ เขียนบทความแสดงความคิดเห็น ปรับปรุงจดหมายข่าว และจัดทำสื่อลักษณะต่าง ๆ เพื่อแนะนำสถาบัน
4. สร้างความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าของสถาบันด้วยการส่งข่าวสาร เชิดชูและชื่นชมศิษย์เก่า ประสานกับชมรมศิษย์เก่า จัดทำทำเนียบศิษย์เก่า และเชิญศิษย์เก่ามาร่วมเสนอผลงานทางวิชาการตามโอกาสอันควร โดยให้ศิษย์ปัจจุบันมีส่วนร่วมในกิจกรรมสานสัมพันธ์นี้

ยุทธศาสตร์การสืบสานวัฒนธรรมไทย

ประธานยุทธศาสตร์ รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์

เป้าหมาย
เพื่อให้บุคลากรและนิสิตของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ได้เข้าถึงวิถีชีวิตของชุมชนและสืบสานศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยที่ดีงามเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยผ่านการอบรมบ่มนิสัย ให้ความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมทั้งมีประสบการณ์ตรง

ยุทธศาสตร์หลัก
1. สร้างเครือข่ายในเรื่องศิลปวัฒนธรรมระหว่างสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์กับชุมชนสังคม ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
2. สร้างและผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยที่จะทำให้บุคลากรและนิสิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและศิลปะของไทย ในรูปผลงานที่สร้างสรรค์
3. จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน สังคม เพื่อให้บุคลากรและนิสิตได้เรียนรู้วัฒนธรรมของท้องถิ่น ทั้งจากชีวิตจริงและจากแหล่งรวบรวมความรู้จากชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ
4. ทำงานวิจัยเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและนำผลการวิจัยที่ได้ออกเผยแพร่
สู่ชุมชนและสังคมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม