วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

สรุปจุดแข็ง - จุดอ่อน
การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง  และ  แนวทางแก้ไข
องค์ประกอบที่ 5  การบริการวิชาการแก่สังคม

จุดแข็ง

จุดอ่อน

  1. การให้บริการทางวิชาการที่สถาบันจัดขึ้นเป็นที่ต้องการ และเป็นที่สนใจ จึงก่อให้เกิดการจัดโครงการบริการวิชาการที่ต่อเนื่อง   
  2. การให้บริการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ลงสู่สังคมอย่างแท้จริง  ซึ่งจัดหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง  ก่อให้เกิดความชื่นชม ชื่อเสียง และศรัทธา ต่อสถาบัน
  3. การที่นิสิตมีส่วนร่วมกับคณาจารย์ของสถาบันใน การจัดโครงการบริการวิชาการนำความรู้สู่สังคม ได้เป็นไปอย่างเข้มแข็ง  ต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและชุมชนโดยรวม  และมีผลทำให้เกิดเครือข่าย  ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน นิสิต ชุมชน และสังคมอย่างชัดเจน
  4. คณาจารย์ของสถาบันได้รับการยอมรับจาก หน่วยงานภายนอกในด้านความรู้  ความสามารถ  และประสบการณ์  ซึ่งดูได้จากการได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นกรรมการ/ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในงานระดับชาติ และการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  5. ควรมีการจัดโครงการบริการวิชาการ  ที่มีการ บูรณาการการเรียน  การสอน และการวิจัย                      เข้าด้วยกัน
  1. ยังขาดการนำผลการประเมินไปพิจารณาปรับปรุง ความเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างการบริการ วิชาการแก่สังคมกับภารกิจอื่นๆ           ของสถาบันอย่างเป็นรูปธรรม

 

 

การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง

แนวทางแก้ไข

  1. โครงการบริการวิชาการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว  ควรมีแผนดำเนินการให้ดำเนินการต่อไปอย่างยั่งยืน  โดยเพิ่มคุณภาพของการให้บริการให้มีมากยิ่งๆ  ขึ้นไป
  2. ควรมีกิจกรรมพัฒนาอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ   เพื่อให้มีความรู้ที่ก้าวทันต่อวิทยาการใหม่ๆ        เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

 

  1. ควรมีการพัฒนาคณาจารย์รุ่นใหม่ให้มีความ เข้มแข็งทางวิชาการในสาขาที่ตนเองถนัด
  2. มีคณะกรรมการประเมินภาพรวมทั้งหมดของภารกิจ  และนำผลการประเมินไปปรับปรุงเชื่อมโยงและ บูรณาการระหว่างการบริการวิชาการแก่สังคมกับภารกิจอื่นๆ ของสถาบันฯ