วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

สรุปจุดแข็ง - จุดอ่อน
การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง  และ  แนวทางแก้ไข
องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน

จุดแข็ง

จุดอ่อน

  1. หลักสูตรได้มาตรฐาน บัณฑิตมีคุณภาพ
  2. มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
  3. มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นเสริมสร้างประสบการณ์ตรง
  4. ความพึงพอใจของนิสิตต่อคุณภาพการสอน ของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนอยู่ในระดับดีมาก
  5. มีการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนิสิต เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด น้ำดื่มสะอาด เป็นต้น
  6. ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรนั้น เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย
  7. จำนวนอาจารย์เกือบทั้งหมดจบปริญญาเอก
  8. นิสิตที่จบจากสถาบันฯ ล้วนมีคุณภาพ  มีอาชีพรองรับ และทำงานตรงตามสาขาเกือบทุกคน คิดเป็นร้อยละ 96
  9. ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา  นิสิตได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องในการ เสนอผลงานวิจัยที่เป็นไปตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้
  10. อาจารย์ประจำมีคุณสมบัติเป็นที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทุกคน
  1. จำนวนนักศึกษา เมื่อเทียบกับอาจารย์ยังอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเนื่องจากสถาบันฯ เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ประกอบกับภารกิจเน้นการทำวิจัยเป็นเชิงปฏิบัติขั้นสูง ที่อาจารย์ต้องมีเวลาใกล้ชิดกับนิสิตมาก   จึงยากที่จะมีจำนวนนิสิตปริมาณตาม ที่กำหนดในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
  2. อาจารย์ยังคงทำผลงานวิจัยน้อย
  3. ยังขาดระบบและการวางแผนการดำเนินการ ป้องกันการทำผิดจรรยาบรรณ
  4. อาจารย์ขาดความสนใจในการทำวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพราะอาจารย์ส่วนใหญ่ทำงานวิจัยที่รับแหล่งทุนภายนอก เน้นพัฒนาสังคม
  5. บทความของนิสิตปริญญาโทที่ตีพิมพ์เผยแพร่ยังน้อยมาก  แต่ ระดับปริญญาเอก 100%

 

การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง

แนวทางแก้ไข

  1. มีโครงการพัฒนาหลักสูตรให้ได้มาตรฐานและ สอดคล้องกับแผนพัฒนาชาติและสังคมมากยิ่งขึ้น  โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  ทั้งบุคคลภายนอก และภายในมหาวิทยาลัย
  2. มีคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงาน ในการใช้หลักสูตรใหม่ที่เป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาปรับปรุงในส่วนย่อยได้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดผลดีต่อนิสิต และสังคมมากที่สุด
  1. มีนโยบายเร่งรัด สนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ
  2. มีมาตรการที่ชัดเจนในการดำเนินการ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และประกาศให้ทุกคนรับทราบ
  3. ส่งเสริมทุนวิจัยให้อาจารย์ทำวิจัยใน การเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น
  4. เร่งรัดและสนับสนุน สร้างบรรยากาศ ให้นิสิตปริญญาโท ระหว่างทำปริญญานิพนธ์  เขียนบทความวิจัยให้มีคุณภาพเป็น  และจัดหาแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยให้กับนิสิต