วิธีทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลระดับชาติ
 

 

ผลการวิเคราะห์การดำเนินงาน จุดแข็ง – จุดอ่อน
การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง และแนวทางแก้ไขแยกตามมาตรฐาน

มาตรฐานที่ 5  ::  การพัฒนาสถาบันและบุคลากร

จุดแข็ง

จุดอ่อน

1.) สถาบัน ฯ ได้พัฒนาตนเองไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้  เช่น

1. ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในการบริหาร  การวิจัย  การเรียนการสอน  และบริการวิชาการ

2.มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสถาบัน ฯ  และด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  เช่น  การจัดกิจกรรมบอกกล่าวเล่าขาน  การจัดทำวารสารจดหมายข่าว  เป็นต้น

3. มีการทำงานเป็นทีม

4. มีการส่งเสริมบุคลากรให้มีความสามารถระดับมืออาชีพ  เช่น  สนับสนุนงบประมาณให้อาจารย์ไปเผยแพร่ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ และให้ฝ่ายสนับสนุนวิชาการได้มีประสบการณ์ตรงไปศึกษาดูงาน ที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

2.)    ร่วมมือกับสถาบันภายนอกในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ  ได้แก่

1. การประชุมวิชาการนานาชาติ  3rd International  Postgraduate Research  Colloquium  ร่วมกับ  IIUM  ประเทศมาเลเซีย

2. การประชุมวิชาการนานาชาติจิตวิทยาประยุกต์ในภาคพื้นเอเชีย  ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย


3.)     จัดประชุมวิชาการทางพฤติกรรมศาสตร์  ประจำปีอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นเวทีให้อาจารย์  นิสิต  และศิษย์เก่านำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุม
4.)    จัดอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ อาจารย์ นิสิต เพื่อนำเสนอ และเข้าร่วมวิชาการในระดับนานาชาติ
5.)     มีการพัฒนาบุคลากรอย่างทั่วถึงทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

1.)     สถานที่คับแคบและเก่า ขาดงบประมาณในการซ่อมแซมและปรับปรุงทำให้เป็น ข้อจำกัดอย่างยิ่งในการจัดกิจกรรมทางวิชาการให้ทั่วถึง
2.)     ขาดการนำผลการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปี ของบุคลากรมากำหนดเป็นแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล
3.)     ขาดบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ เพื่อรองรับภาระกิจหลักของสถาบัน ฯ  เนื่องจากไม่มีอัตรากำลังทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ

การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง

แนวทางแก้ไข

ควรมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัย เพื่อสนองความต้องการของบุคลากรให้พอเพียงกับความจำเป็น

1.)     ทำแผนพัฒนาปรับปรุงตัวอาคารและภูมิทัศน์  เสนอมหาวิทยาลัยเพื่อของบประมาณสนับสนุนโดยด่วน
2.)     ทำแผนพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับผลการประเมิน อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
3.)     ทำแผนเพื่อรองรับการจัดสรรอัตรากำลังทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการให้สอดคล้องกับภารกิจหลักของสถาบัน ฯ