จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
2. สถาบันฯ มีนโยบายการทำวิจัยที่ชัดเจนในรูปแบบต่าง ๆ รูปแบบงานวิจัยแบบต่อเนื่องระยะยาวเพื่อสามารถนำผลวิจัยสู่การประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้าง คุณภาพชีวิตของคนไทยโดยเฉพาะเยาวชน จัดเป็นการวิจัยและพัฒนาอย่างครบวงจร เช่น ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาจิตสำนึกทางปัญญาเพื่อคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย ชุดโครงการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาพลังปัญญาของเยาวชนไทยด้วยเครือข่ายของสถาบันครอบครัวและการศึกษา เพื่อนำไปสู่การเป็นเยาวชนที่เป็นผู้นำในโลกของการเปลี่ยนแปลง และชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเชิงบูรณาการปัจจัยเชิงสาเหตุ คุณภาพชีวิตครอบครัว และการทำงานของผู้ใหญ่ เพื่อประสิทธิผลในการพัฒนาของเยาวชนไทย ฯลฯ
รูปแบบงานวิจัย เป็นการทำวิจัยเพื่อตอบปัญหาเร่งด่วน เช่นการสำรวจพฤติกรรมการใช้และกำจัดโทรศัพท์มือถือ การวิจัยและพัฒนาพฤติกรรมบริโภคด้วยปัญญาของเยาวชนไทย และโครงการประสิทธิผลในการอบรมทักษะและจิตลักษณะที่มี ต่อพฤติกรรมประหวัดน้ำและไฟของนักเรียนระดับประถมศึกษา ฯลฯ
โครงการวิจัยที่ตอบสนองแผนการวิจัยของสถาบัน เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่สถาบันฯ มีความชำนาญมาแต่เดิม เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาจิตสำนึกทางปัญญาเพื่อคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย พฤติกรรมการทำงาน การอบรมเลี้ยงดูเด็ก
อนึ่ง : ในการทำโครงการวิจัยของสถาบันฯ ทั้ง 3 รูปแบบได้เปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามีส่วนร่วมในการวิจัย
|
ผลงานวิจัยของสถาบันยังไม่ ได้รับการอ้างอิงจากฐานข้อมูลศูนย์การอ้างอิงดัชนี |
2. คณาจารย์สถาบันฯ ที่เป็นนักวิจัยมีการรวมตัวกันเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการแบบเชิงบูรณาการ ซึ่งจากการที่รวมตัวกันแต่ละคนมีความชำนาญต่างกัน ทำให้ได้ข้อเสนอโครงการที่สามารถวิจัยเพื่อหาคำตอบได้หลายแง่มุม เช่น โครงการบูรณาการครอบครัว (ทุนสนับสนุนภายใน) และโครงการกีฬาหมากล้อมกับลักษณะที่พึงประสงค์ของเยาวชนไทย (ทุนสนับสนุนจากภายนอก) ซึ่งข้อเสนอโครงการดังกล่าวมีนักวิจัยจากหน่วยงานอื่นนำไปเป็นต้นแบบในการเขียนชุดโครงการ เช่น คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ เป็นต้น |
|
3. มีการทำโครงการวิจัยกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและ ต่างประเทศ เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาพลังปัญญาของเยาวชนไทยฯ เรื่องความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีต่องานบริการของการไฟฟ้านครหลวง และเรื่อง Progress of Collaboration and Research Project
4. ผลงานวิจัยของสถาบันฯ
4.1 มีจำนวนมากและเป็นที่ยอมรับ
4.2. มีการนำไปใช้ในการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เช่น หลักสูตรสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตรจิตวิทยาพัฒนาการ
4.3. มีการนำไปใช้ในการบริการวิชาการแก่ชุมชน เช่น โครงการพัฒนาครอบครัวเข้มแข็ง-เยาวชนคุณภาพด้วยเครือข่ายครอบครัว โรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครนายก |
|
5. การเผยแพร่ผลงานวิจัย
5.1 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ
5.2 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติ
5.3 จัดทำวารสารที่มีมาตรฐานระดับชาติพฤติกรรมศาสตร์
5.4 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ |
|
การสร้างเสริมความแข็งแกร่ง |
แนวทางแก้ไข |
- สร้างความเข้าใจกับฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยในเรื่องนโยบายและความเข้มแข็งของการทำวิจัยของสถาบันฯ เพื่อให้ฝ่ายวิจัยให้ความสำคัญและส่งเสริมให้สถาบันฯ ทำวิจัยมากขึ้น เนื่องจากสถาบันฯ มีภารกิจเทียบเคียงได้กับศูนย์วิจัยที่ใช้ชื่อที่มีคำว่า เลิศ (Excellence) อยู่ด้วย ที่พบมักเป็นศูนย์ทางศึกษาศาสตร์ เรียกคำย่อเหมือน ๆ กันว่า CEE (Center for Excellence in Education) ซึ่งมีภารกิจทั้งทำวิจัย ทำการประเมินผล จัดการฝึกอบรมเทคนิควิธีใหม่ ๆ ให้แก่ผู้บริหารทางการศึกษา และครูอาจารย์ ตลอดจนให้บริการทางการให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนมีหลักสูตรการสอนที่ให้ปริญญา หรือประกาศนียบัตรด้วย เช่นที่ University of Indiana และที่ Northern Arizona University
- ผลงานวิจัยของสถาบันยังไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายระดับชาติอย่างชัดเจน
|
- ควรมีการจัดทำโครงการเพื่อขอรับทุน Excellence Center Matching Fund (ECMF) เพื่อสนองนโยบายด้านวิจัยของมหาวิทยาลัยและ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์วิจัยพฤติกรรมศาสตร์เฉพาะทาง เช่น ด้านครอบครัว ด้านการทำงาน รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน ที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเพื่อนำผลวิจัยไปสู่การประยุกต์ใช้ ได้มากและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ควรแสวงหาแหล่งทุน และความร่วมมือระดับองค์การเพื่อ ให้ได้รับทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น
- ควรแสวงหางบประมาณทำวิจัยให้มากขึ้นเพื่อผลักดันให้งานวิจัย เป็นโครงการใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาของสังคมให้ชัดเจนมากขึ้น
- ควรมีการเพิ่มคุณภาพงานวิจัยของสถาบันฯ โดยสร้างระบบการจัดการคุณภาพภายในที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
- ควรมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยลงในวารสาร ทางวิชาการในระดับนานาชาติที่กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่
- ควรมีการกำหนดทิศทางของงานวิจัยให้เป็น Theme หลัก ๆ ที่ชัดเจนเพื่อจะได้นำลงสู่การแก้ไขปัญหาระดับชาติมากยิ่งขึ้น
- เพิ่มช่องทางการเผยแพร่ให้มากขึ้น
- สนับสนุนให้บุคลากรนำผลงานไปลงวารสารนานาชาติมากขึ้น
|