รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด536
ชื่อเครื่องมือวัดแบบวัดพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรอบต.
งานวิจัยอ้างอิง0ไม่มีข้อมูล
ที่เก็บงานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
หมายเลขเรียกหนังสือ
คำสำคัญ
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนไม่จริงเลย - จริงที่สุด ( 6 ระดับ ) ถ้าเป็นข้อความทางบวกผู้ตอบจะได้คะแนน 1-6 ถ้าเป็นข้อความทางลบผู้ตอบจะได้คะแนนตรงข้าม
คุณภาพของเครื่องมือวัดประธานกรรมการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 91 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้วิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิธี Item total correlation ได้ค่า .25-.83
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับ1. content vadility โดยผู้เชี่ยวชาญ 12 คน 2.Construct Vadility โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน Confirmtory factor Analysis ได้ค่า ด้านความเสียสละ .76 ด้านความซื่อสัตย์ .75 ด้านความรับผิดชอบ
ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิของครอนนาด ได้ค่า .98
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างประธานกรรมการบริหารองค์การส่วนตำบลในภาคกลาง เขต 1,2,13,14 จำนวน 165 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้เสนอ
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปร พฤติกรรมจริยธรรมการทำงาน หมายถึง การปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในการแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการแก่ประชาชนในตำบลด้วยความเสียสละ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความเป็นประชาธิปไตย และความสามัคคี โดยที่ ความเสียสละ หมายถึง พฤติกรรมการทำงานที่แสดงถึงความปรารถนาดี และความเต็มใจ ช่วยเหลือให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจ หรือสนองความต้องการของผู้อื่นด้วยการให้ปันสิ่งที่ตนมีอยู่ โดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ความซื่อสัตย์ หมายถึง พฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสม อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริงทั้งกาย วาจา ใจ ความรับผิดชอบ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความสนใจ และความตั้งใจที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จด้วยความพยายามและความหมั่นเพียร และติดตามงานที่ได้ทำไปแล้วเพื่อปรับปรุงแก้ไข ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ยอมรับในสิ่งที่ตนเองจะทำลงไป ทั้งในด้านที่เป็นผลดีและผลเสีย ความเป็นประชาธิปไตย หมายถึง พฤติกรรมทำงานที่แสดงถึงความเป็นตัวของตัวเองไม่ครอบงำผู้อื่น ไม่ยอมให้ผู้อื่นครอบงำ โดยยึดหลักความเสมอภาค การเคารพสิทธิและเสรีภาพของบุคคล การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และทำการแก้ไขปัญหาหรือตัดสินใจโดยยึดหลักเหตุผลและสันติวิธี ความสามัคคี หมายถึง พฤติกรรมการทำงานที่แสดงถึง การรวมกำลัง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตามความต้องการของประชาชนในตำบล โดยใช้กำลังกาย กำลังความคิด กำลังความรู้ หรือกำลังทรัพย์ ร่วมกันทำงานด้วยความกลมเกลียว ไม่มีการทะเลาะ คิดทำลาย หรือแก่งแย่งชิงดีกัน โดยเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนในตำบลเป็นสำคัญ
ตัวอย่างเครื่องมือวัด
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]