รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด503
ชื่อเครื่องมือวัดประสบการณ์จากกิจกรรมทางศาสนา
งานวิจัยอ้างอิงการเรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์กับลักษณะทางพุทธศาสนา และพฤติกรรมศาสตร์ของนักเรียนวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ. มศว ประสานมิตร.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว ประสานมิตร
หมายเลขเรียกหนังสือ306.6 ห268ก
คำสำคัญประสบการณ์, กิจกรรมศาสนา, กิจกรรม
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนแบบวัดความถี่ มี 4 หน่วย จาก ทุกครั้ง จนถึง ไม่เคย
คุณภาพของเครื่องมือวัดนักเรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และโรงเรียนสามัญศึกษา จำนวน 128 คน
ความยาก วิธีการและพิสัย-
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ข้อคำถามรายข้อด้วยเทคนิค 27% และทำการทดสอบความแตกต่างคะแนนรายข้อโดยใช้สถิติที (t-test) มีค่าระหว่าง 3.54 - 7.56
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจารณาว่าเนื้อหาครอบคลุมตามนิยามปฏิบัติการหรือไม่ และภาษา สำนวน แล้วนำมาปรับปรุง
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า มีค่าเท่ากับ .83
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชายและหญิง ชั้น ม.1,2,3 ในปีการศึกษา 2535 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพฯ ที่เรียนและไม่เรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 145 และ 140 คน ตามลำดับ รวม 285 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือ-
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดประสบการณ์จากกิจกรรมทางศาสนา ประกอบด้วยตัวแปร 2 ด้าน คือ 1. ระยะเวลาที่เข้าเรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ คือ ปริมาณความถี่ของการเข้าร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนา ที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น การสวดมนต์ การฟังเทศน์ การทำบุญตักบาตร การให้ทาน เป็นต้น 2. การได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา คือ การรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับคุณค่าของการเข้าร่วมกิจกรรม ทางพุทธศาสนานั้น
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. (ก) ฉันสวดมนต์ไหว้พระกับครูและเพื่อนๆ ที่โรงเรียน .......... ............ ............ ................ ทุกครั้ง บ่อยครั้ง น้อยครั้ง ไม่เคยเลย (ข) การสวดมนต์ไหว้พระกับครูและเพื่อนๆ ที่โรงเรียนทำให้ฉันเบื่อหน่ายรำคาญ ............ ...... .................. ..................... .......... ............... จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 2. (ก) ฉันได้ฟังเทศน์ในวันธรรมสวนะที่โรงเรียน .......... ............. ............ ................ ทุกครั้ง บ่อยครั้ง น้อยครั้ง ไม่เคยเลย (ข) ยิ่งได้ฟังเทศน์บ่อยครั้ง ยิ่งทำให้ฉันอยากทำแต่ความดี ............ ...... ................. ...................... ......... ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]