รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด500
ชื่อเครื่องมือวัดความผาสุกทางจิตใจ
งานวิจัยอ้างอิงการเรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์กับลักษณะทางพุทธศาสนา และพฤติกรรมศาสตร์ของนักเรียนวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ. มศว ประสานมิตร.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว ประสานมิตร
หมายเลขเรียกหนังสือ306.6 ห268ก
คำสำคัญความผาสุก, จิตใจ
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด โดยอาศัยการศึกษาจากแนวคิด ของ ลอร์ตัน (1983), สตัล (1985) และริฟ (1989)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตร 6 หน่วย จาก จริงที่สุด จนถึง ไม่จริงเลย
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มตัวอย่างทั้งในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และโรงเรียนสามัญศึกษา จำนวน 128 คน
ความยาก วิธีการและพิสัย-
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อ ด้วยเทคนิค 27% และทำการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยรายข้อ โดยใช้สถิติที (t-test) มีค่า ระหว่าง 5.43 - 9.48
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจารณาว่ามีเนื้อหาครอบคลุมตามนิยามปฏิบัติการหรือไม่ และดูภาษา สำนวน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า มีค่าเท่ากับ .77
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชายและหญิง ชั้น ม.1,2,3 ปีการศึกษา 2535 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพฯ ที่เรียนและไม่เรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 145 และ 140 คน ตามลำดับ รวม 285 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือ-
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดความผาสุกทางจิตใจ การที่บุคคลมีความพึงพอใจในชีวิต พึงพอใจต่อการเรียน หรือการทำงานยอมรับตนเอง รับรู้ว่าตนมีความสามารถควบคุม จัดกระทำต่อสิ่งแวดล้อมได้ เปิดใจกว้างยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆ มองโลกในแง่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้าง ทำให้สามารถปรับตัวและมีความสุขอยู่ในสังคมได้
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ปัจจุบันฉันมีความสุขเหมือนเมื่อฉันยังเป็นเด็กกว่านี้ 2. ในปัจจุบันฉันมีความสุขมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา 3. ชีวิตของฉันในปัจจุบันมีแต่ความยุ่งยาก 4. ฉันภูมิใจกับผลการเรียนของฉันในปัจจุบัน 5. ฉันรู้สึกเบื่อหน่ายที่สิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่ฉันคาดหวังไว้ ............ ...... ................ ..................... .......... ............... จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]