รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด455
ชื่อเครื่องมือวัดพฤติกรรมการขับขี่อย่างปลอดภัย
งานวิจัยอ้างอิงตัวแปรทางจิตและสถานการณ์ในการขับขี่ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่ ่อย่างปลอดภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลในกรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์).
ที่เก็บงานวิจัยมศว ประสานมิตร
หมายเลขเรียกหนังสือ363.125 ว794ต
คำสำคัญพฤติกรรมการขับขี่, การขับขี่
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบประเมินการขับขี่ของคัทเลอร์ และคณะ (1993)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนมาตรวัด 6 หน่วย คือ เป็นประจำ ถึง ไม่เคยเลย ข้อค
คุณภาพของเครื่องมือวัดผู้ขับขี่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มาติดต่อราชการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่ ณ สำนักงานขนส่งทางบกเขตพื้นที่ 3 จำนวน 87 คน
ความยาก วิธีการและพิสัย-
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยจากค่า t ที่ได้จากการเปรียบเทียบคะแนนแต่ละข้อของคะแนนกลุ่มสูง - ต่ำ และค่า r ที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง คะแนนรายข้อกับคะแนนรวม พิสัยคะแนน 53 - 113
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ด้านแบบวัดตรวจสอบ แล้วปรับปรุงให้เหมาะสม
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ .81
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ปกติขับรถอยู่ภายในกรุงเทพฯ เป็นประจำอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งมาติดต่อราชการกับฝ่ายทะเบียน รถยนต์ จำนวน 601 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือ-
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัด1. เกี่ยวกับความระมัดระวังในการขับขี่ ประกอบด้วย - การเอาใจใส่กับการขับขี่ - การไม่ขับขี่ในลักษณะที่เสี่ยงอันตราย - การปฏิบัติตามกฎ เครื่องหมาย ตลอดจนสัญญาณจราจรต่างๆ 2. เกี่ยวกับ การมีมารยาทหรือนิสัยที่ดีในการขับขี่ ประกอบด้วย - การเห็นใจให้ทางกับรถและคนใช้ถนน - การให้สัญญาณต่างๆ อย่างชัดเจนเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม - การรู้จักให้อภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน คนอื่นๆ
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ฉันเคยรีบถึงขนาดว่า พยายามแซงรถทุกคันที่ขวางหน้า 2. ฉันไม่ได้ทำตามเครื่องหมายจราจร เช่น ห้ามเลี้ยว หรือห้ามกลับรถ 3. ฉันเคยยอม ให้รถคันอื่นแย่งทางไป 4. ฉันเคยจงใจขับรถผ่านสัญญาณไฟที่กำลังเปลี่ยนเป็นสีแดง 5. ฉันเคยแซงในระยะกระชั้นชิด ................. ........ ................ ................. ............. .............. เป็นประจำ(10) บ่อย(8) ค่อนข้างบ่อย(6) ไม่ค่อยบ่อย(4) นานๆ ครั้ง(2) ไม่เคยเลย(0)
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]