รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด395
ชื่อเครื่องมือวัดมาตรวัดความพึงพอใจในชีวิต
งานวิจัยอ้างอิงอิทธิพลของความขัดแย้งในงานและครอบครัวที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพ. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) กรุงเทพ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว. ชั้น 4
หมายเลขเรียกหนังสือ303.69 ส 826 อ
คำสำคัญความขัดแย้งในงาน, ความขัดแย้ง
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ยึดแนวจากดัชนีความสัมพันธ์ระหว่างงานกับความเครียดของ คาร์นและคณะ(Kahn et al. 1964)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนมาตราประเมินค่า 5 ระดับ จากไม่เคยเลย - บ่อยที่สุด
คุณภาพของเครื่องมือวัดใช้กลุ่มทดลองที่เป็นครูที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 105 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยไม่ได้นำเสนอไว้ในปริญญานิพนธ์
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจ Content Validity โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า เท่ากับ 0.97
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างข้าราชการครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพฯ 38 โรง เฉพาะครูชายและหญิงที่มีบุตรอาศัยอยู่ด้วยกัน จำนวน 580 คน เป็นครูชาย 211 คน ครูหญิง 369 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุ
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดหมายถึงสถานการณ์ ความกดดันจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงาน ตามลักษณะของความขัดแย้งในบทบาทในงาน คือ 1) ความ ขัดแย้งจากหลายแหล่ง 2) ความขัดแย้งจากแหล่งเดียว 3)ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบทบาท
ตัวอย่างเครื่องมือวัดบทบาทในงานและในครอบครัว ในสถานการณ์การทำงาน สถานการณ์ในครอบครัว และระหว่างสถานการณ์การทำงาน กับสถานการณ์ในครอบครัว ท่านอาจจะประสบกับสถานการณ์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ในข้อความต่อไปนี้ เป็นสถานการณ์ทั้งสามประเภทในรูปแบบต่างกัน ขอให้ท่านโปรดพิจารณาว่าในแต่ละข้อความตรงกับสถานการณ์ที่ท่านประสบอยู่ในที่ทำงานหรือในครอบครัวของท่านมากน้อย เพียงใด จากไม่เคยเลย ถึง บ่อยที่สุด โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับระดับความถี่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับท่าน บทบาทในงาน 1. ข้าพเจ้าปฏิบัติงานการเรียนการสอนภายใต้นโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกัน 2. ข้าพเจ้าได้รับคำขอให้ปฏิบัติงานจากคนสองคน หรือมากกว่า โดยคำขอนั้นขัดกัน 3. ข้าพเจ้าปฏิบัติงานในโรงเรียนเป็นที่ยอมรับของบุคคลหนึ่ง แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของอีกบุคคลหนึ่ง 4.มีผู้มอบหมายงานให้ข้าพเจ้าปฏิบัติในโรงเรียนมากกว่าหนึ่งคน ในเรื่องเดียวกัน แต่ให้แนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน 5. ข้าพเจ้าปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนภายใต้การชี้แนะที่ไม่สอดคล้องกันของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียน และ ศึกษานิเทศก์ 6. ผู้บริหารโรงเรียนมีความคาดหวังในบทบาทด้านการเรียนการสอนของข้าพเจ้าที่ขัดกับความคาดหวังจากนักเรียน 7. ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้าฝ่ายวิชาการมีความคาดหวังในบทบาทการทำงานของข้าพเจ้าแตกต่างกัน 8. หัวหน้าโครงการมอบหมายงานให้ปฏิบัติในโครงการต่าง ๆ แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน 9. ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าการปฏิบัติงานในเรื่องเดียวกันบางเรื่อง ผู้บริหารระดับจังหวัดต้องการให้ข้าพเจ้าทำแบบหนึ่ง ในขณะที่ ผู้บริหารโรงเรียนกลับต้องการให้ทำอีกแบบหนึ่ง 10. ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติงานหรือประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่มีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานที่ขัดแย้งกับนโยบายและ แนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยงานข้าพเจ้า 11. การปฏิบัติงานหรือการกระทำของข้าพเจ้า ได้รับการยอมรับจากบุคคลภายนอก หรือจากหน่วยงานอื่น แต่มักไม่เป็นที่ยอมรับ จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้บริหารโรงเรียน 12. ข้าพเจ้าจำต้องปฏิบัติงานบางเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องทำ 13. งานให้โอกาสแก่ข้าพเจ้าน้อยในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะในการทำงานที่ข้าพเจ้าถนัด 14. ในที่ทำงาน ข้าพเจ้าต้องการมีอำนาจและอิทธิพลเหนือคนอื่นมากกว่านี้ 15. ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติงานที่ขัดกับนิสัยของข้าพเจ้า 16. วิธีสอนของข้าพเจ้ามักจะขัดแย้งกับวิธีการที่กำหนดไว้ในคู่มือครู 17. ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติงานโดยที่ข้าพเจ้าคิดว่าควรใช้วิธีอื่นต่างจากที่ทำอยู่ 18. ข้าพเจ้าต้องการมีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลกระทบกับข้าพเจ้ามากกว่านี้ 19. งานที่ข้าพเจ้าทำไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของข้าพเจ้า 20. ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานด้านการสอน ตลอดจนงานพิเศษหรืองานอื่นจากหน่วยงานมากเกินไป จนไม่สามารถทำให้ดีได้ 21. ข้าพเจ้าทำงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารโรงเรียนในเรื่องเดียวกัน โดยสั่งการแต่ละครั้งขัดแย้งกัน 22. มีการสั่งการหรือให้นโยบายการปฏิบัติงานจากกรมในเรื่องเดียวกันขัดแย้งกัน 23. มีการสั่งการหรือให้นโยบายหรือแนวทางการปฏิบัติจากจังหวัดในเรื่องเดียวกันขัดแย้งกัน ______ ______ ______ ______ ______ ไม่เคยเลย บางครั้ง ค่อนข้างบ่อย บ่อย บ่อยที่สุด
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]