รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด383
ชื่อเครื่องมือวัดแบบวัดการร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาในชุมชน
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ ของเยาวชนไทย จากชุมชนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้ . ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง ชั้น 4
หมายเลขเรียกหนังสือ153.8 ว 266 ล
คำสำคัญการร่วมกิจกรรม, กิจกรรมทางพุทธศาสนา, ชุมชน
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด เพื่อใช้ในงานวิจัย
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนมาตรวัดประเมินค่า แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 วัดก
คุณภาพของเครื่องมือวัดใช้กับกลุ่มทดลองที่เป็นเยาวชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแผ่นดินทอง ที่คล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อ ใช้เทคนิค 27% (T- test) อยู่ระหว่าง 4.97 - 9.01
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับหา Content Validity โดยให้กรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ ตรวจสอบ
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า เท่ากับ 0.74 หลังใช้กับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าเท่ากับ 0.90
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาแผ่นดินทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2535 จำนวน 401 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดปริมาณกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่บุคคลเข้าร่วม หมายถึง ปริมาณการที่ผู้ตอบได้เข้าร่วมในกิจกรรมทางพุทธศาสนาประเภทต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดขึ้นในรอบหนึ่งปี เช่น การทำบุญตักบาตร การฟังเทศน์ จากการเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ผู้ตอบมองเห็นประโยชน์ เช่น เข้าใจถึงความหมาย และหลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามากขึ้น ลดการทำความชั่ว ทำความดีมากขึ้น มีจิตใจผ่องใสและสบายใจ
ตัวอย่างเครื่องมือวัดหมวด ก. คือการเข้าร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนา 1. ฉันไปฟังเทศน์ที่วัดในวันพระ และวันสำคัญทางพุทธศาสนา 2. ฉันำด้ฝึกการกำหนดลมหายใจเข้าออกที่โรงเรียน 3. ฉันได้ฟังนิทานเกี่ยวกับการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จากการฟังเทศน์ที่วัด 4. ฉันร่วมทำบุญวันสารท (เดือนสิบ) กับพ่อแม่ที่วัด 5. ฉันไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญ (วันมาฆบูชา, วิสาขบูชา) ที่วัดในชุมชน 6. ในครอบครัวฉันได้นำศีลห้า ทาน การทำภาวนสสมาธิ มาอบรมสั่งสอน 7. ฉันได้ร่วมทำความสะอาดชุมชนตามคำเชิญชวนของผู้นำในชุมขน 8. ฉันร่วมกับเพื่อน ๆ ทำความสะอาดบริเวณวัด 9. ฉันจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนากับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน 10. ฉันร่วมกิจกรมของชุมชน เพื่อชักชวนให้คนปฏิบัติธรรม เช่น ฟังธรรมรักษาศีล ฝึกสมาธิ ______ ______ ______ ______ ทุกครั้ง บ่อยครั้ง น้อยครั้ง ไม่เคยเลย หมวด ข. คือกิจกรรมที่ทำให้ผู้ตอบมองเห็นประโยชน์ 1. การฟังเทศน์ที่วัด ช่วยให้ฉันเร่งกระทำความดีมากขึ้น 2. การฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออกทำให้ฉันมีสมาธิในการเรียน 3. การฟังนิทานเกี่ยวกับการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทำให้ฉันไม่กล้าทำสิ่งไม่ดี 4. การทำบุญวันสารท ทำให้ฉันรู้จักการแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น 5. การเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา ทำให้ฉันทราบประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา 6. การได้รับการอบรมสั่งสอนทางพุทธศาสนา ทำให้ฉันมีจิตใจสงบ 7. การได้เข้าร่วมทำความสะอาดบริเวณชุมชน ทำให้ฉันรู้สึกภูมิใจที่สามารถทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมได้ 8. ทำให้ฉันรู้สึกว่าพุทธศาสนาสอนให้คนรู้จักการเสียสละ 9. การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนา ทำให้ฉันมีความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธศาสนามากขึ้น 10. การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อชักชวนและเผยแพร่การปฏิบัติธรรม ทำให้ฉันรู้สึกว่าการปฏิบัติตามคำสอนของพุทธศาสนาเป็น สิ่งที่ฉันสามารถปฏิบัติได้ ______ ______ ______ ______ ______ ______ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]