รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด380
ชื่อเครื่องมือวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน
งานวิจัยอ้างอิงปัจจัยที่มีอิทธพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) . กรุงเทพฯ : ม
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ158.7 จ 327 ป
คำสำคัญความเหนื่อหน่ายในงาน ความเบื่องาน
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดของ สิระยา สัมมาวาจ (2532)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตรวัด 7 ระดับ จากไม่เคยรู้สึกเช่นนั้น (ให้ 1
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.65
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.89
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-10 ปี ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ วิทยาลัย วชิรพยาบาล, รพ.กลาง,ตากสิน,เจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 530 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน หมายถึง ลักษณะของกลุ่มอาการที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดความเครียดเรื้อรัง จากการปฏิบัติ งานของพยาบาลวิชาชีพ วัดจาก 3 องค์ประกอบ คือ 1. ความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์ หมายถึง คามรู้สึกท้อแท้ อ่อนล้า และสิ้นหวังจากการประกอบวิชาชีพที่ต้องให้บริการต่อสังคม 2. ความรู้สึกลดความเป็นบุคคล หมายถึง ความรู้สึกด้านลบ และมีทัศนคติในแง่ร้ายของพยาบาลวิชาชีพต่อเพื่อนร่วมงาน และผู้ป่วย จนขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3. ความสำเร็จส่วนบุคคล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพเกิดความรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ในการประกอบ อาชีพพยาบาล
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ฉันรู้สึกจิตใจห่อเหี่ยวจากการทำงานในวิชาชีพพยาบาล 2. ฉันรู้สึกหมดแรงเมื่อสิ้นสุดการทำงานแต่ละวัน 3. ฉันรู้สึกเพลียเมื่อตื่นนอนตอนเช้าและรู้ว่าต้องไปทำงานอีกวัน 4. ฉันรู้สึกว่าตนเองสามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้โดยง่าย 5. ฉันรู้สึกว่าฉันได้ปฏิบัติต่อผู้ป่วยบางคนเหมือนเป็นสิ่งไม่มีชีวิตจิตใจ 6. ฉันรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับงานในหน้าที่ของฉัน 7. ฉันรู้สึกเปี่ยมไปด้วยพลังของควาสำเร็จ 8. ฉันรู้สึกคับข้องใจ และกังวลในงานที่ทำอยู่ ไม่เคยรู้สึก ปีละ เดือนละ เดือนละ สัปดาห์ละ สัปดาห์ละ ทุก ๆ วัน เช่นนั้น 2-3 ครั้ง 1 ครั้ง 2-3 ครั้ง 1 ครั้ง 2-3 ครั้ง 1 2 3 4 5 6 7
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]