รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด379
ชื่อเครื่องมือวัดความเครียดในบทบาท
งานวิจัยอ้างอิงปัจจัยที่มีอิทธพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) . กรุงเทพฯ : ม
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ158.7 จ 327 ป
คำสำคัญความเครียด บทบาท ความเครียดในบทบาท
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดของยศวรรณ พิพัฒน์ศิริพล (2541)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตรวัด 7 ระดับ จาก ไม่จริงมากที่สุด (ให้ 1 คะ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 ถึง 0.72
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.92
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-10 ปี ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ วิทยาลัย วชิรพยาบาล, รพ.กลาง, ตากสิน,เจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 530 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดความเครียดในบทบาท หมายถึง ความรู้สึกต่อการดำรงบทบาทว่ามีความยากลำบากหรือดำรงบทบาทนั้นไม่ได้ โดยวัดจาก องค์ประกอบ 2 ลักษณะ คือ 1. ความขัดแย้งในบทบาท หมายถึง ความไม่สอดคล้องกันของความคาดหมายที่ผู้อื่นมีต่อบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ และการ ปฏิบัติอันเนื่องมาจากความแตกต่างของงานที่ได้รับมอบหมาย 2. ความคลุมเครือในบทบาท หมายถึง ความไม่ชัดเจนของบทบาทและหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่องานบริการพยาบาล และที่ผู้อื่นคาดหวัง
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ฉันทำงานภายใต้นโยบายและแนวการปฏิบัติที่ไม่ไปด้วยกัน 2. ฉันต้องทำงานภายใต้แนวทางหรือคำสั่งที่คลุมเครือ 3. ขณะทำงานฉันมีเวลาหยุดพักรับประทานอาหารที่ไม่แน่นอน 4. ฉันต้องทำงานนอกเวลาและมีการเปลี่ยนเวรการทำงานที่มากเกินไป 5. ฉันต้องทำงานพยาบาลและงานเกี่ยวกับเอกสารที่มากเกินไป 6. บ่อยครั้งที่ฉันต้องประสบปัญหาในการทำหน้าที่ของแพทย์ 7. ฉันต้องดูแลผู้ป่วยจำนวนมากเกินไป 8. ฉันต้องทำงานในหน้าที่หลายอย่างมากเกินไป ไม่เป็นจริง ไม่เป็นจริง ค่อนข้าง เฉย ๆ ค่อนข้าง เป็นจริง เป็นจริง มากที่สุด มาก ไม่เป็นจริง เป็นจริง มาก มากที่สุด 1 2 3 4 5 6 7
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]