รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด370
ชื่อเครื่องมือวัดความคิดคาดหวังในอรรถประโยชน์
งานวิจัยอ้างอิงการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของอาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ378.11 ว 619 ก
คำสำคัญความคาดหวัง อรรถประโยชน์
ที่มาของเครื่องมือวัด แปลและปรับปรุงมาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แนวคิดของ Kerman and Lord (1990)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตรวัดความคาดหวังต่อผลการทำงานวิจัย มาตรวัดเ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวน 40 ท่าน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.567 ถึง 0.729
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับสำหรับแบบวัดความคาดหวัง = 0.81 และแบบวัดแรงดึงดูดใจสู่เป้าหมาย = 0.73
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เคยปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการวิจัย มีรายชื่อปรากฎในระเบียนประวัตินักวิจัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ตังแต่ปี พ.ศ. 2537 จำนวนทั้งหมด 1,011 คน 13 คณะ และ 1 สำนัก
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดความคิดความคาดหวังในอรรถประโยชน์ หมายถึง ค่าที่แสดงขนาดและทิศทางการเลือกแนวทางการทำงานวิจัยซึ่งผู้ตอบ ปราถนามากที่สุด ค่าความคิดคาดหวังในอรรถประโยชน์ เป็นค่าในเชิงปริมาณ มีความหมายเป็นพลังการจูงใจที่หาได้จาก ผลรวมของการคูณกันระหว่างความคาดหวัง และแรงดึงดูดใจไปสู่เป้าหมาย มาตรวัดความคาดหวังต่อผลการทำงานวิจัย วัดความน่าจะเป็นหรือความคาดหวังของผู้ตอบที่มีความเป็นไปได้ที่ผลลัพพ์จากการทำงานวิจัย จะเกิดกับตนเองมากน้อยเพียง ใด มาตรวัดแรงดึดดูดใจไปสู่เป้าหมาย วัดความรู้สึกตามการรับรู้ของผู้ตอบว่าสิ่งที่เป็นผลลัพพ์ของการทำงานวิจัยเป็นสิ่งดึงดูด ใจให้ทำงานวิจัยเพื่อให้ได้สิ่งนั้น ๆ
ตัวอย่างเครื่องมือวัด ผลลัพธ์จาการทำงานวิจัยต่อไปนี้ เป็นสิ่งจูงใจให้ท่านมุ่งมั่นทำวิจัย มากน้อยเพียงใด และผลลัพธ์เหล่านั้นน่าจะเกิดกับท่าน ระหว่างปี 2541-2543 ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ โปรดวงกลมรอบตัวเลยที่ตรงกับความเห็นของท่าน (แต่ละข้อตอบทั้ง 2 คำตอบ) _________________________________________________________________________________________________ ผลลัพธ์ของการทำวิจัย จูงใจให้ทำวิจัย _______________________ น้อยที่สุด มากที่สุด ความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวท่าน _________________________________________________________________________________________________ 1. ให้เกียรติภูมิและสถานภาพที่ดี 1 2 3 4 5 6 7 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100% 2. สร้างรายได้เป็นพิเศษ 3. นำไปขอตำแหน่งวิชาการ 4. ได้รับใช้สังคม/ประเทศ 5. ได้ประสบการณ์วิจัยไปสอน ระดับบัณฑิตศึกษา 6. ได้เสนอผลงานในต่างประเทศ 7. ได้ผลิตดำราชั้นสูง
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]