รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด360
ชื่อเครื่องมือวัดความเชื่ออำนาจในตน
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางพุทธ และพฤิตกรรมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ เอดส์ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักกรมการแพทย์ กรุงเทพฯ และสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณ
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610. 730699 อ 179 ล
คำสำคัญความเชื่ออำนาจในตน
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดเหตุการณ์ในชีวิตการทำงานของข้าพเจ้าของ ศักดิ์ชัย นิรัญทวี(2532)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 ระดับ ตั้งแต่ จริงทีสุด
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ ระบุเพียงว่าเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation แต่ไม่ได้ระบุค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามว่าอยู่ในช่วงใด
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .86
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่เป็นพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงขนาด 400 - 1,000 เตียง ในเขตกรุงเทพฯ คือ โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กรุงเทพฯ และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดลักษณะทางจิต ในที่นี้หมายถึง การรับรู้หรือความเชื่อของบุคคลว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเป็นผลมาจากพฤติกรรม หรือการ ตัดสินใจของตนเอง และตนเองเป็นผู้สามารถควบคุมผลที่เกิดขึ้นได้
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. บ่อยครั้งเมื่อข้าพเจ้าส่งผลงานที่ข้าพเจ้าใช้ความพยายามอย่างมากในการจัดทำแก่ผู้บังคับบัญชา แต่ผู้บังคับบัญชาท่าน เพียงแต่รับไว้เท่านั้น 2. ขณะนี้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าการทำงานราชการให้ผลไม่คุ้มค่า 3. พยาบาลที่มาจากครอบครัวที่มีชาติตระกูล มักได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นดำรงตำแหน่งสำคัญเสมอ ๆ 4. การเล่นพวกเล่นพ้องและระบบอุปถัมภ์ยังมีอยู่มากในวงราชการที่ข้าพเจ้าเกี่ยวข้อง 5. ในหลายกรณีที่ผู้ที่ได้รับความดีความชอบเป็นพิเศษในหน่วยงานของข้าพจ้านั้นไม่ใช่คนที่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นคนที่ทำงานดีและ มีนิสัยดี 6. บางครั้งข้าพเจ้าทำผิดเพียงเล็กน้อย แต่ถูกตำหนิจากผู้บังคับบัญชาอย่างรุนแรง 7. มีบ่อยครั้งที่ข้อเสนอแนะของคน ๆ หนึ่งมักเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ทั้งที่ข้าพเจ้ามองไม่เห็นความเหมาะสม 8. ข้าพเจ้ามีความตั้งใจและเอาใจใส่ต่อการทำงานเป็นอย่างดี แต่ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าจะได้รับการพิจารณาความดี ความชอบ เพราะ สาเหตุนี้ 9. คนโปรดของเจ้านายมักไ่ม่ถูกลงโทษอย่างรุนแรง ถึงแม้จะทำความผิดร้ายแรงอันมีผลเสียหายต่อราชการ 10. ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่ชอบข้าพเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ยากมากที่จะทำให้กลับมาชอบข้าพเจ้าได้ ------------ ----------- ------------ ------------ ----------- ------------ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]