รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด356
ชื่อเครื่องมือวัดอิทธิบาท 4
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางจิตสังคม และลักษณะทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการให้การ พยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610. 730699 ก 128 ล
คำสำคัญอิทธิบาท 4
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดคุณลักษณะที่เกี่ยวกับการทำงานของ จารุพร แสงเป่า และคนอื่น ๆ (2539)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ จริงที่สุด
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลฝ่ายกายของรัฐที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .7437 ถึง .9067
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .9836
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างพยาบาลประจำตึกที่ปฏิบัติงานประจำตึกอายุรกรรม ตึกศัลยกรรมโรงพยาบาลฝ่ายกาย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีเตียงตั้งแต่ 60 เตียง ขึ้นไป ในจังหวัดพระนครศรีอยูธยา, ปทุมธานี, ลพบุรี และนนทบุรี จำนวน 420 คน ตอบรับ 348 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดลักษณะทางพุทธ ในที่นี้หมายถึง ปริมาณความรู้สึกของผู้ตอบที่มีต่อลักษณะการทำงานที่ประสบในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับ คุณธรรมย่อย 4 ด้าน ได้แก่ 1. ฉันทะ หมายถึง ความรู้สึกรักและพึงพอใจการทำงาน มีความรักงานที่ทำอย่างแน่วแน่มั่นคง ต้องการทำงานนั้นให้สำเร็จ มีจุดมุ่งหมายถึงผลที่แท้จริงจากงาน 2. วิริยะ หมายถึง ปริมาณความรู้สึกของผู้ตอบในความขยันขันแข็งในการทำงานมีใจสู้ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เห็นอุปสรรคเป็น สิ่งที่ท้าทายความสามารถ 3. จิตตะ หมายถึง ปริมาณความรู้สึกของผู้ตอบที่เห็นความสำคัญของงาน มีความสนใจและมีจิตจดจ่ออยู่เฉพาะงานที่กำลังทำ จิตใจใจไม่วอกแวก 4. วิมังสา หมายถึง ปริมาณความรู้สึกของผู้ตอบ ในการใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญหรือพิจารณาแก้ไขข้อบกพร่องใน การทำงาน เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมาย
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ข้าพเจ้ามีความสุขที่ได้ทำงาน 2. ข้าพเจ้าไม่เคยปล่อยเวลาให้เสียไปโดยเปล่า 3. ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ทำงานให้สำเร็จอย่างดีที่สุด 4. เมื่อพบข้อบกพร่องในการทำงานข้าพเจ้าจะพยายามหาทางแก้ไข ไม่ปล่อยปละละเลย 5. ข้าพเจ้าแน่วแน่มั่นคงเพื่อบรรลุเป้าหมายของงาน 6. ข้าพจ้าชอบที่จะคิดปรับปรุงให้งานที่ทำอยู่มีคุณภาพดียิ่ง ๆ ขึ้น 7. ข้าพเจ้าพยายามหาหนทางที่จะทำงานต่อให้สำเร็จจนได้ 8. ข้าพเจ้าพอใจที่จะทำงานนี้ต่อไป แม้ว่าจะต้องทำงานนี้อีกนาน 9. ข้าพเจ้าพยายามชนะอุปสรรคจนกว่างานจะบรรลุจุดมุ่งหมาย 10. แม้จะพบอุปสรรคใด ๆ ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ ------------ ----------- -------------- -------------- --------------- จริงที่สุด จริง ไม่แน่ใจ ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]