รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด350
ชื่อเครื่องมือวัดความคลุมเครือในบทบาท
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางจิตสังคม และลักษณะทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการให้การ พยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610. 730699 ก 128 ล
คำสำคัญความคลุมเครือในบทบาท บทบาท ความคลุมเครือ
ที่มาของเครื่องมือวัด แปลและปรับปรุงมาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบสอบถาม Role Ambiguity ที่สร้างโดย Rizzo,House and Lirtzman (1970)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 ระดับ ตั้งแต่ จริงที่สุด
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลฝ่ายกายของรัฐที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .3599 ถึง .5962
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .7174
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานประจำตึกอายุรกรรม ตึกศัลยกรรมโรงพยาบาลฝ่ายกาย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีเตียงตั้งแต่ 60 เตียงขึ้นไป ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา,ลพบุรี,ปทุมธานี และนนทบุรี จำนวน 420 คน ตอบรับ 348 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดลักษณะจิตสังคม ในที่นี้หมายถึง การที่พยาบาลขาดความเข้าใจอย่างแจ่มชัด เกี่ยวกับบทบาทของวิชาชีพพยาบาลที่การ ปฏิบัติ ซึ่งได้รับจากความคาดหวังในบทบาทจากองค์กรและบุคคลอื่น ๆ
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. หลายครั้งที่ฉันสงสัยถึงขอบเขตหน้าที่ที่แท้จริงของพยาบาล 2. ฉันให้การพยาบาลตามอาการที่พบในแต่ละเวร โดยมิได้มีการวางแผนการพยาบลไว้ล่วงหน้า 3. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลมีการกำหนดหรือแบ่งไว้อย่างชัดเจน จากบทบาทหน้าที่ของบุคลากรอื่น ๆ ในโรงพยาบาล 4. ฉันแบ่งเวลาเพื่อให้การพยาบาลในผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเหมาะสม 5. ฉันไม่ทราบว่าจะพัฒนาความสามารถการให้การพยาบาลด้านการป้องกันโรค การส่งเสริมและคงไว้ซึ่งสุขอนามัย การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้อย่างไร 6. โรงพยาบาลมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของพยาบาลด้านการป้องกันโรค การส่งเสริมและคงไว้ซึ่งสุขอนามัย การดูแลรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ ไว้อย่างชัดเจน 7. บ่อยครั้งที่ฉันไม่ทราบว่าอะไรคือ ความคาดหวังต่อวิชาชีพพยาบาลในความคิดของคนอื่น ๆ 8. ฉันไม่ทราบถึงความคาดหวังต่อบทบาทพยาบาลของผู้ร่วมงานจากวิชาชีพสาขาอื่น ------------ -------- -------------- ----------------- -------------- -------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]