รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด346
ชื่อเครื่องมือวัดความสามารถในการแก้ปัญหา
งานวิจัยอ้างอิงรายงานการวิจัยฉบับที่ 64 การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยว ข้องกับการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัย
ที่เก็บงานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือISBN 974-596-956-7
คำสำคัญความสามารถ แก้ปัญหา ปัญหา
ที่มาของเครื่องมือวัด แปลและปรับปรุงมาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด Heppner & Petersen (1982)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ จริง จนถึง
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ปีที่ 6 โรงเรียนวัดราชาธิวาส จำนวน 100 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อ ด้วยเทคนิค 25% ค่าอำนาจจำแนก t ของข้อคำถามอยู่ในช่วง 2.45 ถึง 7.18 ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับไม่ได้ระบุไว้ในรายงานการวิจัย
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .67
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพฯ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2538 จำนวน 1,167 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในรายงานการวิจัย
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดมุ่งประเมินการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาของบุคคลโดยทั่วไปมากกว่าความสามารถในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ เป็นจริง โดยประกอบไปด้วย เนื้อหาที่เกี่ยวกับความมั่นใจในการแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการแบบเผชิญปัญหา และการควบคุมตน เองในสถานการณ์ที่เป็นปัญหา
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. เมื่อข้าพเจ้าแก้ปัญหาไม่สำเร็จ ข้าพเจ้าไม่เคยตรวจสอบดูว่าทำมไม่ได้ผล 2. ข้าพเจ้ามองปัญหาว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมากกว่าเป็นเรื่องน่ากลัว 3. ข้าพเจ้าพยายามหาหนทางในการแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง 4. ข้าพเจ้าเกลียดการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน 5. ข้าพเจ้ามักหลีกเลี่ยงที่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาใดในชีวิต 6. ข้าพเจ้าเชื่อว่าปัญหาต่างๆ มักจะคลี่คลายของมันเอง 7. ข้าพเจ้าพยายามวางแผนสำหรับสิ่งที่จะทำถัดไป 8. เมื่อมีปัญหาข้าพเจ้ามักจะหยุดคิดถึงปัญหาก่อนที่จะตัดสินใจ 9. ข้าพเจ้ามักเปรียบเทียบชั่งน้ำหนักผลที่ตามมาแต่ละทางเลือกในการตัดสินใจ 10. ข้าพเจ้ามักใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดการกับปัญหา -------- --------------- ----------- ---------------- ------------- จริง ค่อนข้างจริง ไม่แน่ใจ ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]