รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด341
ชื่อเครื่องมือวัดการรับรู้สนับสนุนทางสังคม
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางพุทธศาสนา และจิตลักษณ์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล บุตรเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคธาลัสซีเมีย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ649. 8 ช 617 ล
คำสำคัญการรับรู้ การสนับสนุนทางสังคม
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด โดยอาศัยแนวคิดการสร้างแบบวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบหลายมิติของ Zimet and Others(1988)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 ระดับ จาก จริงที่สุด จนถ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นบิดามารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ในครั้งนี้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 70 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อด้วยเทคนิค 25 % โดยเลือกข้อความที่มีค่า t ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ในช่วง 2.07 ถึง 9.27
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .83
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างบิดาหรือมารดาที่ได้รับการเลือกจากประชากรอย่างเจาะจงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2536 โดยมีคุณสมบัติตาม ที่กำหนด เช่น นับถือพุทธศาสนา,อาศัยอยู่ร่วมกับบุตรที่ป่วยและมีส่วนร่วมในการดูแลบุตร,มีบุตรที่ป่วยเพียงคนเดียว,ยินดีให้ ความร่วมมือ เป็นต้น
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม ในที่นี้หมายถึง การที่บิดาหรือมารดาของเด็กป่วยเรื้อรังรับรู้ถึงแหล่งบุคคลที่จะให้ ความช่วย เหลือแก่ตน ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม ทางด้านรูปธรรม ได้แก่ การรับรู้ว่าได้รับความช่วยเหลือในด้านสิ่งของ เครื่องใช้ เงินทอง แรงงาน เวลา ตลอดจนข้อมูลข่าวสาร คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะการเจ็บปผ่วยของบุตรรวมทั้งวิธีการดูแลสุขภาพบุตร ที่เหมาะสม ส่วนทางด้านนามธรรม ได้แก่ การรับรู้ถึงความรัก ความเห็นใจ ความเอื้ออาทรต่อการที่มีบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำให้ รู้สึกว่าตนเองยังเป็นที่รักขงอบุคคลใกล้ชิดหรือยังมีคนที่ไว้วาใจได้ในยามทุกข์ยาก โดยแแหล่งที่ให้การสนับสนุนจะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากคู่สมรส ได้แก่ จากผู้ที่เป็นสามีหรือภรรยา การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจาก บุคคลอื่น ได้แก่ การสนับสนุนจากญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อนและเพื่อนร่วมงาน กลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังและเจ้าหน้าที่ สุขภาพ เช่น แพทย์และพยาบาล
ตัวอย่างเครื่องมือวัดการได้รับความช่วยเหลือจากคู่สมรส 1. สามี (ภรรยา) ปลอบโยนท่านเมื่อท่านเกิดความวิตกกังวล เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของลูก 2. สามี (ภรรยา) เต็มใจช่วยงานในบ้านแทนท่านระหว่างท่านต้องคอยดูแลลูกที่เจ็บป่วย 3. สามี (ภรรยา) ช่วยจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นมาให้ท่านและลูกที่ป่วยได้ใช้ 4. สามี (ภรรยา) มักหลีกเลี่ยงการดูแลลูกที่ป่วย และมอบภาระนี้ให้แก่ท่านเพียงผู้เดียว 5. สามี (ภรรยา) ของท่านสนับสนุนเงินทองเพื่อใช้ใ่นการรักษาพยาบาลลูกอย่างเต็มที่ การได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น 1. เมื่อท่านไม่สบายหรือติดธุระ ท่านสามารถขอให้ญาติหรือเพื่อนมาช่วยดูแลลูกที่ป่วยแทนท่านได้ 2. ท่านมีญาติหรือเพื่อนที่ยินดีรับฟังปัญหาความทุกข์ หรือความคับข้องใจของท่าน 3. พ่อแม่ของเด็กป่วยด้วยกัน ช่วยพูดให้ท่านคลายความกังวลใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของลูก 4. ถ้าท่านและคู่สมรสมีปัญหาด้านการเงิน ท่านไม่สามารถจะไปพึ่งพาใครได้ 5. ทุกวันนี้ชีวิตของท่านอ้างว้างอย่างยิ่ง ------------ ---------- ------------ --------------- ----------- --------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]