รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด340
ชื่อเครื่องมือวัดทัศนคติต่อบุตร
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางพุทธศาสนา และจิตลักษณ์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล บุตรเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคธาลัสซีเมีย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ649. 8 ช 617 ล
คำสำคัญทัศนคติ เจตคติ บุตร
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดทัศนคติต่อบุตรปกติของ ดวงเดือน พันธุมนาวินและคนอื่น ๆ (2528)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 หน่วย จาก จริงที่สุด จนถ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นบิดามารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากโรงพยาบาลของรัฐแห่งอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ นอกเหนือจากโรงพยาบาลที่เลือกมาในครั้งนี้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 70 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะหืรายข้อด้วยเทคนิค 25% โดยเลือกข้อความที่มีค่า t ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 4.35 ถึง 14.94
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .76
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างบิดาหรือมารดา ที่ได้รับการเลือกจากประชากรอย่างเจาะจงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2536 โดยมีคุณสมบัตตาม ที่กำหนด เช่น นับถือพุทธศาสนา,อาศัยร่วมกันกับบุตรที่เจ็บป่วยเรื้อรังและมีส่วนร่วมในการดูแลบุตร, มีบุตรที่เจ็บป่วยเพียงคน เดียว เป็นต้น
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดทัศนคติต่อบุตร ในที่นี้หมายถึง ความรู้ในคุณค่าของบุตรและความรู้สึกของบิดา มารดา ที่มีต่อบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง ทั้งใน เรื่องรูปร่างลักษณะ ลักษณะนิสัย ความคาดหวังที่มีต่อบุตร ตลอดจนความพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือบุตรเจ็บป่วยในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ท่านเชื่อว่าอย่างไรเสีย ลูกที่ป่วยก็ยังสามารถสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ท่านได้ 2. ท่านรู้ว่าลูกที่ป่วยเป็นสาเหตุให้ท่านต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อืนมากขึ้น 3. ท่านเชื่อว่าการให้กำเนิดลูกที่เจ็บป่วย มีส่วนทำให้ท่านไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเท่าที่ควร 4. ท่านรู้สึกมีความสุข เมื่อได้ใกล้ชิดลูกที่ป่วย 5. ท่านรู้สึกหงุดหงิดเมื่อเด็กป่วยดื้อรั้น และเอาแต่ใจตัวเอง 6. ท่านรู้สึกผิดหวังในตัวลูกที่เจ็บป่วย 7. ท่านพร้อมที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อลูกคนนี้ได้ 8. ท่านเริ่มคิดท้อถอยในการดูแลรักษาลูกคนนี้ ------------ ----------- --------------- -------------- ------------ ------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]