รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด337
ชื่อเครื่องมือวัดลักษณะทางพุทธศาสนา : ความเชื่อทางพุทธศาสนา
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางพุทธศาสนา และจิตลักษณ์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล บุตรเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคธาลัสซีเมีย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ649. 8 ช 617ล
คำสำคัญลักษณะทางพุทธศาสนา ความเชื่อทางพุทธศาสนา พุทธศาสนา
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดความเชื่อทางพุทธศาสนาของ ดวงเดือน พันธุมนาวินและคนอื่น ๆ (2533) แบบวัดเจตคติต่อความเชื่อทางพุทธศาสนาของ วันชัย มีกลาง(2530)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 หน่วย ตั้งแต่ จริงที่สุด
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นบิดามารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างทีต้องการศึกษา จากโรงพยาบาลของรัฐแห่งอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ นอกเหนือจากโรงพยาบาลที่เลือกมาในครั้งนี้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 70 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อด้วยเทคนิค 25% โดยเลือกข้อที่มีค่า t ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 1.75 ถึง 12.68
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .83
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างบิดาหรือมารดาที่ไดัรับเลือกจากประชากรอย่างเจาะจงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2536 โดยมีคุณสมบัติตามที่กำ หนด เช่น นับถือพุทธศาสนา, อาศัยอยู่ร่วมกับบุตรและมีส่วนร่วมในการดูแลบุตร, มีบุตรเพียงคนเดียวที่เจ็บป่วย, ยินดีที่จะให้ ความร่วมมือ เป็นต้
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดความเชื่อทางพุทธศาสนา ในที่นี้หมายถึง การที่บิดา มารดายอมรับในหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาอย่างถูกต้องที่จะช่วย เอื้อประโยชน์ให้บิดา มารดา เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่ตนต้องประสบกับความทุกข์จากการมีบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง และช่วย ให้สามารถมีการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ประกอบด้วย ความเชื่อในหลักอริยสัจ 4 และคามเชื่อในหลัก ไตรลักษณ์ ในหมวดสมุทัย ศึกษาเฉพาะความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม บุญ-บาป การเวียนว่ายตายเกิด และนรก-สวรรค์ ในหมวดนิโรธ ศึกษาความเชื่อในนิพพานและในหมวดมรรคศึกษาเฉพาะความเชื่อในพระรัตนตรัย
ตัวอย่างเครื่องมือวัดความเชื่อใ่นหลักอริยสัจ 4 1. การค้นหาสาเหตุในการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่ชักช้าและไม่ทันการ 2. การทำเป็นลืม ๆ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลดี ความเชื่อในไตรลักษณ์ 1. เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ จึงต้องเร่งแสวงหาความสุขใส่ตนให้มากที่สุด 2. บุคคลไม่จำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นอะไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อในกฎแห่งกรรม 1. ท่านเชื่อในผลของการกระทำในชีวิตปัจจุบันมากกว่าเวรกรรมในอดีต 2. คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมเป็นการส่งเสริมให้บุคคลงอมืองอเท้า ก้มหน้ารับกรรมไม่ยอมแก้ไขอะไร ความเชื่อในบุญ-บาป 1. การทำบุญก็เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้เหตุที่ร้ายกลายเป็นดีได้เอง 2. บุญ-บาป เป้นเพียงหลักข่มขู่ในทางศาสนา จึงไม่มีผลต่อผู้กระทำแต่อย่างใด ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด 1. ท่านเชื่อว่าคนเราเมื่อตายแล้วก็จบสิ้นเพียงแค่นั้น ความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ 1. นรก-สวรรค์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำความดี-ความชั่วในขณะปัจจุบัน 2. ท่านเชื่อว่านรก-สวรรค์ และ ภพภูมิต่าง ๆเป็นสิ่งที่มีจริง ความเชือเรื่องนิพพาน 1. การพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่นิพพานเป็นสิ่งที่ไม่เกินความพยายามของมนุษย์ 2. ท่านเชื่อว่าความสุขที่ได้จากความสงบทางใจ มีคุณค่ามากกว่าความสุขที่ได้จากเงินทอง สิ่งของ ความเชื่อเรื่องพระรัตนตรัย 1. ท่านเป็นคนดีได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 2. พระสงฆ์ช่วยให้ท่านได้ใกล้ชิด และศรัทธาในศาสนามากยิ่งขึ้น ------------ ---------- -------------- ----------------- ---------- ------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]