รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด336
ชื่อเครื่องมือวัดความวิตกกังวลเกี่ยวกับบุตร
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางพุทธศาสนา และจิตลักษณ์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล บุตรเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคธาลัสซีเมีย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ649.8 ช 617 ล
คำสำคัญความวิตกกังวล บุตร
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ศึกษาแนวทางในการสร้างจากแบบวัดความวิตกกังวลของ สบีลเบอร์แกอร์และคนอื่น ๆ(1970) และแบบวัดผลกระทบของการมีบุตเจ็บป่วยเรื้อรังในครอบครัว ของ สไตน์และเรสล์แมน(1980)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 ระดับ จาก จริงที่สุด จนถ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นกลุ่มบิดามารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ ศึกษาจากโรงพยาบาลของรัฐแห่งอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ นอกเหนือจากโรงพยาบาลที่เลือกมาในครั้งนี้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 70 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อด้วยเทคนิค 25% เลือกข้อที่มีค่า t ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ใน ช่วง 2.29 ถึง 8.94
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .87
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างบิดาหรือมารดาที่ไ้รับการเลือกจากประชากรอย่างเจาะจงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2536 โดยมีคุณสมบัติตามที่ กำหนดเช่น นับถือพุทธศาสนา, อาศัยอยู่ร่วมกับบุตรที่ป่วยและต้องมีส่วนร่วมในการดูแลบุตร, มีบุตรเพียงคนเดียวที่ป่วย, ยินดี ให้ความร่วมมือ
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดความวิตกกังวลเกี่ยวกับบุตร ในที่นี้หมายถึง สภาพอารมณ์ตึงเครียดและความรู้สึกที่ไม่มีความสุขหรือหวั่นกลัวต่อเหตุการณ์ ข้างหน้าของบิดามารดา ที่เกี่ยวกับปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังของบุตรใน 4 ด้าน คือ 1. ด้านอาการเจ็บป่วยของบุตร 2. ด้านการสวม บทบาทในการดูแลบุตร 3. ด้านวิธีการรักษาพยาบาลและอุปสรรคในการปฏิบัติตามแผนการรักษา 4. ด้านผลกระทบจากการ เจ็บป่วยของบุตรต่อครอบครัว ทำให้มีการแสดงออกทั้งทางด้านอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมต่างๆ ได้แก่ ความกลุ้มใจ ขาดความมั่นใจท้อแท้ หงุดหงิด ตื่นเต้น อึออัดใจ กลัว ลังเลใจ ขาดสมาธิ เหนื่อยหน่าย เศร้าใจ รวมไปถึงการนอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย ลืมง่าย การตัดสินใจไม่ดี และความสนใจลดลง เป็นต้น
ตัวอย่างเครื่องมือวัดด้านอาการเจ็บป่วยของลูก 1. ท่านรู้สึกว่าจะมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกอีก 2. ท่านรู้สึกใจคอห่อเหี่ยว เมื่อนึกถึงลูกว่าอาจไม่มีทางหายจากโรคนี้ได้ 3. ท่านรู้สึกมีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ว่าลูกจะเจ็บป่วยสักเพียงใด ด้านวิธีการดูแลลูก 1. ท่านมีความเหนื่อยล้าต่อการดูแลลูกที่ป่วย 2. ท่านกลัวแพทย์จะตำหนิว่าท่านดูแลลูกได้ไม่ดี 3. ท่านมักทำอะไรไม่ค่อยถูก เมื่อลูกมีอาการแย่ลง ด้านปัญหาในการปฏิบัติตามวิธีการรักษา 1. ท่านมั่นใจว่าวิธีการรักษาของแพทย์ในขณะนี้จะช่วยให้ลูกมีอาการดีขึ้นได้ 2. ท่านคิดหวาดกลัวไปต่าง ๆ นานา เมื่อลูกต้องได้รับเลือด ฉีดยาหรือโดนเจาะเลือด 3. ท่านรู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องเสียเวลาพาลูกมานั่งรอการตรวจ หรือฟังผลการเจาะเลือด ด้านปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ลูกเจ็บป่วย 1. ท่านรู้สึกเศร้าใจที่ต้องขาดโอกาสในการไปทำงาน เพราะต้องอยู่ดูแลลูก 2. ท่านไม่มีกำลังใจที่จะมุมานะทำงาน เพราะมัวแต่ห่วงกังวลลูกที่ป่วย 3. ตั้งแต่ต้องคอยดูแลลูกที่ป่วย ท่านได้ใช้ชีวิตเพียงเพื่อให้ผ่านไปวันหนึ่ง ๆ ----------- ----------- ---------------- ----------------- ------------ -------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]