รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด335
ชื่อเครื่องมือวัดพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง
งานวิจัยอ้างอิงลักษณะทางพุทธศาสนา และจิตลักษณ์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล บุตรเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคธาลัสซีเมีย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ649.8 ช617ล
คำสำคัญพฤติกรรม การดูแลบุตร
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ตามแนวคิดทฤษฎีการดูแลบุตรที่ต้องพึ่งพา ของ โอเร็ม เป็นหลัก
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จาก ทำประจำ จนถึง ไ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นบิดามารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากดรงพยาบาลของรัฐแห่งอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ นอกเหนือจากโรงพยาบาลที่เลือกมาในครั้งนี้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อ ด้วยเทคนิค25 % เลือกข้อคำถามที่มีค่า t ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ค่าอำนาจจำแนกแต่ละข้อคำถามอยู่ในช่วง = 1.92 ถึง 12.55
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่น = .91
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างบิดาหรือมารดาที่ได้รับการเลือกจากประชากรอย่างเจาะจงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2536 โดยมีคุณสมบัติ ตามที่กำหนด เช่น นับถือพุทธศาสนา อาศัยอยู่ร่วมกับบุตรที่เจ็บป่วยเรื้อรังและมีส่วนร่วมในการดูแลบุตร มีบุตรเพียงคนเดียว เท่านั้นที่เจ็บป่วย
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง หมายถึง การปฏิบัติของบิดามารดาด้วยความสนใจและเอาใจใส่ต่อบุตรที่เจ็บป่วยด้วย โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ 1. การดูแลบุตรเจ็บป่วยในเรื่องจำเป็นทั่ว ๆ ไป ได้แก่ การดูแลบุตรเจ็บป่วยในเรื่องจำเป็นทั่ว ๆ ไป ได้แก่ การดูแลเรื่องอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย ความสะอาดของร่างกายและเส้อผ้า รวมทั้งการป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ 2. การดูแลที่จำเป็นตามพัฒนาการและการส่งเสริมการยอมรับในสภาพการเจ็บป่วย ได้แก่ การดูแลให้บุตรได้ทำกิจวัตรประจำ วันและกิจกรรมต่างๆ เท่าที่บุตรจะทำได้ตามความสามารถโดยไม่ขัดกับโรคและการรักษา การให้บุตรไปโรงเรียนตามปกติเท่า ที่จะทำได้ การส่งเสริมกิจกรรมเชิงสังคมอื่นๆ เช่น การเล่นกับเพื่อนและพี่น้องรวมทั้งการช่วยเหลือให้กำลังใจ ปลอบโยนในยาม ที่บุตรมีปัญหา เพื่อให้บุตรสามารถยอมรับในภาวะสุขภาพของตนและส่งเสริมการเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับผลของพยาธิสภาพ 3. การดูแลที่จำเป็นในภาวะเจ็บป่วย ได้แก่ การดูแลให้บุตรได้ปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ การพาบุตรมาตรวจตาม แพทย์นัด การป้องกันภาวะการเจ็บป่วยซ้ำและการสามารถสังเกตและรับรู้ ความเปลี่ยนแปลงในระหว่างที่บุตรรับการรักษา
ตัวอย่างเครื่องมือวัดการดูแลสุขภาพทั่วไป 1. ลูกยอมแปรงฟันก่อนเข้านอน 2. เมื่อลูกมีอาการปกติดีท่านเคยตามใจลูกเวลาที่เขาไม่ยอมอาบน้ำ 3. ลูกยอมสวมรองเท้าออกนอกบ้าน 4. ท่านเปิดพัดลม(หรือแอร์) ให้ลูกนอนตลอดคืน 5. ลูกไม่สบาย เพราะไปติดจากเพื่อนหรือพี่น้องที่เป็นหวัด การดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของบุตร 1. ท่านได้มอบหมายหน้าที่ประจำในบ้านให้แก่ลูกที่ป่วย 2. ท่านช่วยทำการบ้านหรืองานที่โรงเรียนให้มาแทนให้ลูก 3. ท่านมักให้ลูกดูทีวี หรือเล่นเกมส์คนเดียวมากกว่าให้เล่นกับเพื่อนหรือพี่น้อง 4. เมื่อลูกป่วยดื้อดึงและเอาแต่ใจตัวเอง ท่านไม่กล้าดุว่าลูก 5. เวลาที่ลูกป่วยทำความผิด ท่านมักยกโทษให้ลูก ------------- --------------- ------------ ------------- --------------- ทำประจำ ค่อนข้างบ่อย ทำบ้าง นาน ๆ ครั้ง ไม่เคยเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]