รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด314
ชื่อเครื่องมือวัดลักษณะทางพุทธ : การปฏิบัติทางพุทธศาสนา วิถีชีวิตแ
งานวิจัยอ้างอิงรายงานการวิจัยฉบับที่ 58 ลักษณะทางพุทธศาสนาและจิตสังคมของครูมัธยมศึกษาที่ เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางศาสนา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
ที่เก็บงานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ
คำสำคัญการปฏิบัติทางพุทธศาสนา พุทธศาสนา วิถีชีวิตแบบพุทธ
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดวิถีชีวิตแบบพุทธที่สร้างโดย ดวงเดือน พันธุมนาวินและคณะ (2533)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 ระดับ ตั้งแต่ จริงที่สุด
คุณภาพของเครื่องมือวัดไม่ได้ระบุว่ากลุ่มทดลองใช้เครื่องมือเป็นใคร
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีการใด มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วงใด
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีการใด
ความเชื่อมั่นไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีการใด ระบุเพียงว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .81
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างอาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่สอนภาคปลาย ปีการศึกษา 2538 ( โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาและสังกัด สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชน) สังกัดละ 5 โรงเรียน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในรายงานการวิจัย
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดการปฏิบัติทางพุทธศาสนา หมายถึง การรายงานเกี่ยวกับตนของผู้ตอบที่สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณความเป็นไปได้ที่จะกระทำ หรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดในการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักคำสอนทางพุทธศาสนา ภายใต้กรอบของการให้ ทาน การรักษาศีลห้า และการฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา วิถีชีวิตแบบพุทธ หมายถึง การรายงานเกี่ยวกับตนเองของผู้ตอบที่สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณความป็นไปได้ ที่เราจะเลือกประ พฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างสอดคล้องตามหลักคำสอนทางพุทธศาสนาในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกอาชีพ การคบเพื่อน การใช้เวลาว่าง และวิธีพักผ่อนหย่อนใจของผู้ตอบชาวพุทธ
ตัวอย่างเครื่องมือวัดตอนที่ 1 1. ฉันพร้อมที่จะพูดปด ถ้าคำพูดนั้นจะช่วยให้ฉันได้รับประโยชน์ 2. ฉันเห็นว่าการสวดมนต์ไหว้พระก่อนเข้านอน เป็นการกระทำที่ไร้สาระ 3. คงต้องรอให้ร่ำรวยกว่านี้ก่อน ฉันจึงจะทำบุญให้ทานแก่ผู้อื่น 4. ฉันดื่มสุรา และ/ หรือเบียร์ โดยไม่สนใจว่าจะผิดศีลหรือไม่ 5. ฉันไม่คิดว่าการทำสมาธิจะให้ประโยชน์แก่ฉันได้ ตอนที่ 2 1. ฉันชอบที่จะไปเที่ยวตามวัดวาอารามมากกว่าสถานที่อื่น ๆ 2. ฉันมักระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อผ่านสถานที่ทางศาสนา 3. ฉันใช้เวลาว่างไปในการศึกษาธรรมะหรือปฏิบัติธรรม 4. ฉันใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปในการทำความดีและทำบุญสุนทาน 5. ฉันช่วยเหลือคนอื่นและสังคมอยู่เสมอเพื่อสร้างกุศล ----------- ---------- ------------- ----------------- ------------- --------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]