รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด308
ชื่อเครื่องมือวัดทัศนคติต่อนักเรียน
งานวิจัยอ้างอิงรายงานการวิจัยฉบับที่ 58 ลักษณะทางพุทธศาสนาและจิตสังคมของครูมัธยมศึกษาที่ เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางศาสนา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
ที่เก็บงานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
หมายเลขเรียกหนังสือ
คำสำคัญทัศนคติ เจตคติ นักเรียน
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดทัศนคติที่ครูมีต่อศิษย์ ของบุญกอบ วิสมิตะนันท์(2527)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราวัด 6 หน่วย จาก จริงที่สุด ถึง ไม่จริงเล
คุณภาพของเครื่องมือวัดไม่ได้ระบุว่ากลุ่มทดลองใช้เครื่องมือเป็นใคร
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีการใด มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วงใด
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับไม่ได้ระบุวิธีการที่ใช้
ความเชื่อมั่นไม่ได้ระบุวิธีการที่ใช้ ระบุเพียงว่ามีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .93
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างอาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ที่สอนภาคปลาย ปีการศึกษา 2538 (โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาและสังกัด สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชน) สังกัดละ 5 โรงเรียน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในรายงานการวิจัย
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดทัศนคติต่อนักเรียน ประกอบด้วยความรู้เชิงประเมินค่าและความรู้สึกของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมทางความคิด ทางวาจา ระเบียบ อุปนิสัย และการเรียนของนักเรียนทั้งในทางดี และไม่ดี เพื่อให้ครูได้คิดใคร่ครวญ
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. นักเรียนส่วนมากไม่ค่อยคิดอะไรเอง 2. นักเรียนส่วนมากมีระเบียบไม่มักง่าย 3. นักเรียนส่วนมากชอบก่อความวุ่นวาย 4. นักเรียนส่วนมากต้องบังคับจึงจะทำดี 5. นักเรียนส่วนมากเอกแต่ใจตนเอง 6. นักเรียนส่วนมากแต่งกายไม่เรียบร้อย 7. นักเรียนส่วนมากพูดจาไม่ตรงกับความจริง 8. นักเรียนส่วนมากชอบเอาเปรียบเพื่อน 9. นักเรียนส่วนมากไม่สนใจการเรียน 10. นักเรียนส่วนมากไม่เรียบร้อย ----------- -------- ------------- ------------------- ------------ -------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]