รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด304
ชื่อเครื่องมือวัดแรงจูงใจในการเลือกอาชีพ
งานวิจัยอ้างอิงรายงานการวิจัยฉบับที่ 62 องค์ประกอบทางจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกงานของนิสิตระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
ที่เก็บงานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ
คำสำคัญแรงจูงใจ อาชีพ
ที่มาของเครื่องมือวัด 0
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่มากที่สุด จนถึง
คุณภาพของเครื่องมือวัดไม่ได้ระบุว่ากลุ่มทดลองใช้เครื่องมือเป็นใคร
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีการใด มีค่าอำนาจจำแนกเท่าใด
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีการใด
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .86
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างนิสิตปริญญาตรีปีที่ 4 ทุกวิชาเอกและทุกคณะที่สามารถติดต่อได้ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2536 จำนวนทั้งสิ้น 365 คน เป็นนิสิต ชาย 159 คน นิสิตหญิง 206 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในรายงานการวิจัย
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดแรงจูงใจในการเลือกอาชีพ หมายถึง สิ่งที่ผลักดัน กระตุ้น หรือเร้าความรู้สึกของบุคคลให้มีความสนใจ มีความเต็มใจในการ เลือกประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ด้วยตัวเอง และให้ได้มาในสิ่งที่ตนคาดหมายเอาไว้
ตัวอย่างเครื่องมือวัดเหตุผลหรือแรงจูงใจในการเลือกอาชีพ 1. เลือกตามพี่ ๆ น้องๆ หรือญาติสนิท 2. เลือกเพื่อให้เหมือนกับเพื่อน ๆ ที่รักและชอบพอกัน 3. อาจารย์ที่ปรึกษาบางท่านเคยแนะนำและแนะแนวทางให้ 4. มีผู้ที่ประกอบอาชีพนั้น ๆ แนะนำและแนะแนวทางให้ 5. มีความนิยมบุคคลที่ประสบผลสำเร็จในอาชีพนี้และต้องการยึดถือเป็นตัวอย่าง 6. ต้องการประกอบอาชีพซึ่งมีโอกาสร่ำรวย 7. ต้องการประกอบอาชีพที่มั่นคง 8. ต้องการประกอบอาชีพที่อิสระ 9. ต้องการประกอบอาชีพที่ไม่เสี่ยงอันตราย 10. ต้องการประกอบอาชีพที่มีความก้าวหน้าเร็ว ------------- ----------- ------------ --------- ------------- มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย ไม่เลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]