รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด302
ชื่อเครื่องมือวัดวุฒิภาวะทางอาชีพ
งานวิจัยอ้างอิงรายงานการวิจัยฉบับที่ 62 องค์ประกอบทางจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกงานของนิสิตระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
ที่เก็บงานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ
คำสำคัญวุฒิภาวะทางอาชีพ อาชีพ
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบสำรวจวุฒิภาวะทางอาชีพของ พรรณราย ทรัพยะประภา
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนn/a
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นแบบสำรวจความคิดเห็นว่าใช่หรือไม่ใช่ ให้คะแนน 1
คุณภาพของเครื่องมือวัดไม่ได้ระบุว่ากลุ่มทดลองใช้เครื่องมือเป็นใคร
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยไม่ได้นำเสนอว่าใช้วิธีการใด มีค่าอำนาจจำแนกเท่าใด
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับไม่ได้ระบุว่าใช้วิธีการใด
ความเชื่อมั่นใช้วิธี Kuder - Richardson 20 ได้ค่าความเชื่อมั่น = .63
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างนิสิตปริญญาตรีปีที่ 4 ทุกวิชาเอกและทุกคณะที่สามารถติดต่อได้ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2536 จำนวนทั้งสิ้น 365 คน เป็นนิสิต ชาย 159 คน นิสิตหญิง 206 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในรายงานการวิจัย
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวุฒิภาวะทางอาชีพ หมายถึง ความรู้สึกและท่าทีซึ่งเป็นสภาวะแห่งความพร้อมทางด้านจิตใจ ที่เหมาะสมกับวัยของนิสิตในการ เลือกเรียนเพื่อประกอบอาชีพ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจ อาชีพ ความสามารถ บุคลิกภาพและค่านิยมของตน เป็นส่วนประ กอบ ซึ่งแสดงออก 5 ลักษณะ ดังนี้ 1. การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสำรวจข้อมูลของตนเองและข้อมูลทางอาชีพ 2. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงานและเห็นคุณค่าในการทำงาน 3. สามารถนำข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางอาชีพ มาพิจารณาร่วมกันในการเลือกอาชีพที่ตนพอใจได้ 4. มีอิสระในการตัดสินใจเลือกอาชีพด้วยตนเอง 5. มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการเลือกอาชีพ มาพิจารณาร่วมกันในการเลือกอาชีพที่ตนพอใจได้
ตัวอย่างเครื่องมือวัดข้อที่ ข้อความ ใช่ ไม่ใช่ _____________________________________________________________________________________________ 1. นิสิตไม่กังวลเรื่องการเลือกอาชีพในขณะนี้เพราะยังไม่สำเร็จ การศึกษา 2. นิสิตจำเป็นต้องรู้ว่าตัวนิสิตเองชอบอะไร และอาชีพใด มีลักษณะ งานตามที่นิสิตชอบ 3. นิสิตไม่ค่อยนึกถึงอาชีพที่อยากทำ 4. ในการเลือกอาชีพนิสิตต้องทราบว่าตัวนิสิตเองเป็นคนอย่างไร 5. นับตั้งแต่จำความได้นิสิตรู้แล้วว่าตัวนิสิตต้องการประกอบอาชีพอะไร 6. ถึ้งแม้จะยังไม่สำเร็จการศึกษานิสตก็ควรนึกถึงการประกอบอาชีพ 7. นิสิตไม่ทราบว่าตัวนิสิตเองชอบอาชีพอะไร 8. นิสิตไม่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลือกอาชีพเลย 9. งานเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย 10 การทำงานเปรียบเหมือนการเรียนที่มหาวิทยาลัย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]