รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด296
ชื่อเครื่องมือวัดความพึงพอใจในชีวิต
งานวิจัยอ้างอิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและการมีส่วนร่วมในสังคมกับความพอใจในชีวิต ของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ155. 67 ป 328 ค
คำสำคัญความพึงพอใจ ความพึงพอใจในชีวิต
ที่มาของเครื่องมือวัด แปลและปรับปรุงมาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด เครื่องมือวัดความพอใจในชีวิตชุดเอ ของนูการ์เทนและคนอื่น ๆ
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ เห็นด้วยอย
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .31 ถึง .78
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .82
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 60 ถึง 74 ปี ซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์บริการทางสังคม 2 แห่ง สมาคมและชมรมผู้สูงอายุ 12 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มประชากรรวมจำนวนทั้งสิ้น 240 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดความรู้สึกของผู้ถูกศึกษาที่มีต่อตนเองโดยภาพรวมของชีวิตว่าเป็นอย่างไร ใน 5 มิติ ดังนี้ 1. ความรู้สึกร่าเริงหรือเบิกบานในการดำเนินชีวิต 2. การมีความตั้งใจและอดทนต่อชีวิต 3. ความสอดคล้องกันระหว่างความปรารถนาและการได้รับการตอบสนองตามเป้าหมาย 4. ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง 5. การแสดงออกถึงความสุขใจและมีอารมณ์ไปในทางที่ดี ความพอใจในชีวิต หมายถึง ความรู้สึกที่มีต่อตนเองโดยภาพรวมของชีวิตตามมิติทั้ง 5 ดังที่กล่าวไป มิติที่1 คือ การมีความกระตือ รือร้นในการทำกิจวัตรประจำวัน ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ มิติที่ 2 คือ การยอมรับว่าชีวิตมีคุณค่าจึง พร้อมยืนหยัดต่อสู้กับปัญหาหนัก ๆ ในชีวิต มองปัญหาว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เป็นประโยชน์ มิติที่ 3 คือรู้สึกว่าความต้องการ หรือความปรารถนาที่ตั้งเอาไว้บรรจุตามเป้าหมาย มิติที่ 4 คือ การรับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสังคมดี รวมทั้งรู้สึก ว่าตนได้ทำในสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว มิติที่ 5 คือ การแสดงออกถึงความสุขใจและมีอารมณ์ไปในทางที่ดี ไม่รู้สึกเศร้าหรือว้าเหว่
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. เมื่อข้าพเจ้ามีอายุมากขึ้น สิ่งต่าง ๆ ดูดีขึ้นมากกว่าที่ข้าพเจ้าเคยคิดไว้ 2. ปัจจุบันเป็นเวลาที่เหงาหงอยที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้า 3. ข้าพเจ้ารู้สึกสุขสบายเหมือนตอนอายุน้อยกว่านี้ 4. ชีวิตของข้าพเจ้าควรจะมีความสุขมากกว่าที่เป็นอยู่เวลานี้ 5. เวลาปัจจุบันเป็นเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้า 6. สิ่งต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าทำยังน่าสนใจเหมือนเคย 7. ข้าพเจ้ารู้สึกตัวว่าแก่และไม่ค่อยแข็งแรง 8. เมื่อหวนนึกถึงความหลังข้าพเจ้ารู้สึกพอใจ 9. ข้าพเจ้าจะไม่ขอกลับไปเปลี่ยนชีวิตที่ผ่านมาแม้ว่าจะสามารถทำได้ 10. ข้าพเจ้าได้รับความสมหวังในชีวิตไม่ใช่น้อย ------------------------- ------------------ --------------- ------------------ -------------------------- เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]