รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด295
ชื่อเครื่องมือวัดการมีส่วนร่วมในสังคม : การมีส่วนร่วมในเชิงจิตใจ
งานวิจัยอ้างอิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและการมีส่วนร่วมในสังคมกับความพอใจในชีวิต ของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ155.67 ป328 ค
คำสำคัญการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมในสังคม
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ตามคำนิยามปฏิบัติการ
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ จริงที่สุด
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มที่ทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณสัมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .38 ถึง .70
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา โดยมีค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .69
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งชายและหญิงที่มีอายุอยู่ระหว่าง 60 ถึง 74 ปีซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์บริการทางสังคม 2 แห่ง สมาคมและชมรมผู้สูงอายุ 12 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มประชากรรวมจำนวนทั้งสิ้น 240 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดความสนใจหรือการทุ่มเทจิตใจของบุคคลที่ให้กับการทำกิจกรรมและเรื่องราวหรือบุคคลต่าง ๆ ในสังคมเพื่อดูว่าผู้ถูกศึกษามี ความผูกพันทางจิตใจกับการทำกิจกรรมหรือบุคคลต่าง ๆในสังคมว่าเป็นอย่างไร เช่น ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และสังคม และการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เป็นต้น การมีส่วนร่วมในเชิงจิตใจ หมายถึง ความสนใจหรือการทุ่มเทจิตใจของบุคคล ที่ให้กับการทำกิจกรรมและเรื่องราวหรือบุคคล ต่าง ๆ ในสังคม อันเป็นความผูกพันทางจิตใจที่มีต่อกัน
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. เมื่อได้พูดคุยกับบุตรหลานหรือญาติพี่น้องข้าพเจ้ารู้สึกอบอุ่นใจ 2. ข้าพเจ้ามีความภูมิใจในครอบครัวของข้าพเจ้า 3. ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์กับครอบครัว 4. เพื่อนบ้านช่วยทำให้ข้าพเจ้าหายเหงา 5. ข้าพเจ้ามีเพื่อนสนิทที่สามาถปรับทุกข์ได้ 6. ข้าพเจ้ามีความสุขใจที่ได้อยู่กับครอบครัวของข้าพเจ้า 7. ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ตนเองผูกพันใกล้ชิดกับครอบครัว 8. สมาชิกในบ้านต่างคนต่างอยู่โดยไม่ค่อยสนใจกัน 9. ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ตนเองอยู่ในครอบครัวหรือสังคมอย่างอ้างว้าง 10. ข้าพเจ้าได้ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ------------ ------- ------------- --------------- -------------- จริงที่สุด จริง ไม่แน่ใจ ไม่จริง ไม่จริงเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]