รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด294
ชื่อเครื่องมือวัดการมีส่วนร่วมในสังคม: การมีส่วนร่วมในสังคมเชิงสังค
งานวิจัยอ้างอิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและการมีส่วนร่วมในสังคมกับความพอใจในชีวิต ของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ155. 67 ป328 ค
คำสำคัญการมีส่วนร่วมในสังคม การมีส่วนร่วม
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ตามคำนิยามปฏิบัติการ
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ ทุกวัน จนถ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .31 ถึง .49
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .72
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งชายและหญิงที่มีอายุอยู่ระหว่าง 60 ถึง 74 ปี ซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์บริการทางสังคม 2 แห่ง สมาคมและชมรมผู้สูงอายุ 12 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจาการสุ่มประชากรรวมจำนวนทั้งสิ้น 240 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดปริมาณของการทำกิจกรรมส่วนบุคคล กิจกรรมในครอบครัวและกิจกรรมในสังคมหรือนอกครอบครัวของผู้ถูกศึกษา โดยให้ ผู้ถูกศึกษารายงานถึงความถี่ของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานอดิเรก การเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก่ลูกหลาน และการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น การมีส่วนร่วมในเชิงสังคม หมายถึง ปริมาณของการกระทำกิจกรรมส่วนบุคคล กิจกรรมในครอบครัวและกิจกรรมในสังคมหรือ นอกครอบครัว ตามการรายงานของผู้ถูกศึกษาว่ามีความถี่ของการทำกิจกรรมต่าง ๆดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ช่วยเหลืองานบ้าน 2. ครอบครัวของข้าพเจ้ารับประทานอาหารพร้อมกัน 3. ข้าพเจ้ามีส่วนช่วยอบรมเลี้ยงดูหลาน 4. ข้าพเจ้าพบปะพูดคุยกับบุตรหลานหรือญาติพี่น้อง 5. บุตรหลานหรือญาติพี่น้องมักปรึกษาปัญหาและขอคำแนะนำจากข้าพเจ้า 6. ข้าพเจ้าไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน 7. ข้าพเจ้าไปร่วมทำบุญและฟังเทศน์ที่วัด 8. ข้าพเจ้าทำกิจกรรมอาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม 9. ข้าพเจ้าสวดมนต์ 10. ข้าพเจ้านั่งสมาธิ -------- ---------------------- ----------------------- -------------------- ------------ ทุกวัน สัปดาห์ละ 4-6 ครั้ง สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง เดือนละ 1-2 ครั้ง ไม่เคยเลย
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]