รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด292
ชื่อเครื่องมือวัดความพึงพอใจในการทำงาน
งานวิจัยอ้างอิงการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจ ที่ จะลาออกจากงานของพยาบาลประจำการในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610.73069 ป.456 ก. ร.2
คำสำคัญความพึงพอใจ ความพึงพอใจในการทำงาน
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ตามคำนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ ตั้งแต่ เห็นด้วยอย
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ ระบุเพียงว่าเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 50 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation ได้ค่าอำนาจจำแนก r อยู่ในช่วง = .40 ถึง .888
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .96
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครที่สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่มีพยาบาลประจำการปฏิบัติงานในแต่ละโรงพยา บาลเกิน 150 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือมอลให้กับหัวหน้าหน่วยงานแต่ละหน่วยงานตั้งแต่ ตุลาคม 2537 -พฤศจิกายน 2537
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปรความพึงพอใจในการทำงาน ในที่นี้หมายถึง ความรู้สึกที่มีต่องานของพยาบาลประจำการเป็นความรู้สึกพอใจและ เต็ม ใจที่จะปฏิบัติงานนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน เมื่อนั้นให้ประโยชน์ตอบแทนทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ สนอง ความต้องการพื้นฐานของตนได้ ตามทฤษฎีของ เฮอร์ซเบิร์ก กล่าวว่า ความพึงพอใจในการทำงานเกิดจากปัจจัย 2 อย่าง คือ 1. ปัจจัยกระตุ้นเป็นปัจจัยที่เป็นแรงจุงใจให้บุคคลทำงานได้ดี ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานของพยาบาลประจำการ ปัจจัยกระตุ้นประกอบด้วย ความสำเร็จในงาน การยอมรับนับถือลักษณะงาน ความรับผิอดชอบ ความก้าวหน้าในงาน 2. ปัจจัยด้านค้ำจุน เป็นปัจจัยพื้นฐานที่บุคคควรได้รับในการทำงาน อันได้แก่ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมซึ่งจำเป็นต้องมีอย่างเพียง พอ มิฉะนั้นจะไม่ดึงดูดให้บุคคลเข้ามาร่วมในหน่วยงาน ปัจจัยค้ำจุนประกอบด้วย นโยบายและการบริหาร ความมั่นคง เงินเดือน สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน เป็นต้น
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. หน่วยงานของท่านมีผลงานเป็นที่พอใจแก่ผู้มารับบริการ 2. ท่านมีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถในการทำงานอยู่เสมอ 3. งานมักสำเร็จตามเป้าหมายที่ท่านวางไว้ 4. ท่านให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถเสมอ 5. ในการทำงานท่านสามารถมองเห็นผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน 6. ผู้บังคับบัญชาพอใจผลงานในหน่วยงานของท่าน 7. เพื่อนร่วมงานยอมรับความคิดเห็นของท่าน 8. ท่านเห็นว่าวิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติเท่าเทียมกับวิชาชีพอื่น 9. เพื่อนร่วมงานมักขอคำปรึกษาจากท่านในด้านการทำงาน 10. ท่านรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานในหน่วยงานนี้ ------------------------ --------- ----------------- ------------------- ------------ ------------------- เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ค่อนข้างเห็นด้วย ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]