รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด288
ชื่อเครื่องมือวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม
งานวิจัยอ้างอิงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุของพยาบาลในสังกัดกรม การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610.7365 อ253 ต ร.3
คำสำคัญการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม เหตุผลเชิงจริยธรรม จริยธรรม
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดของ ดวงเดือน พันธุมนาวินและ เพ็ญแข ประจนปัจจนึก(2524) และ จินตนา บิลมาส และคนอื่น ๆ (2529)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนMultiple Choice
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นเรื่องราวและเหตุผลที่เกี่ยวข้อง 6 ตัวเลือก แสด
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ ระบุเพียงว่าเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อ ด้วยเทคนิค 27 % ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 3.01 ถึง 8.27
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าดัชนีทั้งฉบับ = .35
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างพยาบาล ที่ทำหน้าที่พยาบาลประจำการซึ่งมีประสบการณ์ในการพยาบาลผู้สูงอายุสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จาก โรงพยาบาล 3 แห่งและสถาบันเฉพาะโรค 1 แห่ง ได้แก่ รพ. ราชวิถี,รพ.เลิดสิน,รพ.นพรัตน์ธานีและสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 350 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปรเหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกกระทำหรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง โดยเหตุผลเหล่านี้จัดแบ่งและเรียงลำดับไว้ 6 ขั้น ตามทฤษฎีของโคล์เบอร์ก คือ ขั้นที่ 1 หลักการเชื่อฟังคำสั่งและหลบ หลีก การถูกลงโทษทางกาย ขั้นที่ 2 หลักการแสวงหารางวัลที่เป็นวัตถุสิ่งของ ขั้นที่ 3 หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ ขั้นที่ 4 หลักการทำตามหน้าที่ทางสังคม ขั้นที่ 5 หลักการเคารพตนเอง ขั้นที่ 6 หลักการฝึกอุดคติสากล วัดโดยแแบบวัดเหตุผลเชิงจริย ธรรม ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมมติให้เลือกตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำและเลือกเหตุผลในการตัดสินใจนั้นด้วย ซึ่งแสดงถึงระดับ จริยธรรมแต่ละขั้นทั้ง 6 ขั้นนั้น
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ถ้าหน่วยแพทย์และพยาบาลเคลื่อนที่มาขอรับบริจาคโลหิตที่โรงเรียนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่ร่วมในการบริจาคโลหิตเพราะ --------- เป็นการเสียสละที่ได้ผลไม่คุ้มค่า --------- เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องรักษาสุขภาพของตัวเอง --------- ข้าพเจ้ากลัวว่าจะรู้สึกเจ็บและเมื่อบริจาคโลหิตแล้วจะทำให้ร่างกายอ่อนแอติดโรคได้ง่าย --------- บุคคลไม่จำเป็นจะต้องละอายใจตนเองเมื่อไม่ได้บริจาคโลหิต เพราะ การทำความดีนั้นทำได้หลายทาง --------- ข้าพเจ้าไม่กลัวว่าเพื่อน ๆ จะหาว่าข้าพเจ้าเป็นคนใจแคบ เพราะมีเพื่อนข้าพเจ้าหลายคนที่คงจะไม่ยอมบริจาคโลหิต --------- คนที่ไม่บริจาคโลหิต เพราะ มีเหตุผลอันสมควรย่อมไม่ทำให้ความภูมิใจในตนเองลดลง 2. ชายคนหนึ่งกำลังขับรถด้วยความเร็วสูง เพื่อรับนำคนเจ็บหนักไปส่งโรงพยาบาล แต่บังเอิญรถติดไฟแดง ถ้าข้าพเจ้าเป็นชาย คนนั้น ข้าพเจ้าจะหยุดรถตามกฎจราจร เพราะ --------- เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องช่วยรักษากฎจราจร --------- ข้าพเจ้ากลัวจะถูกตำรวจจราจรจับไปลงโทษตามกฎหมาย --------- การผ่าไฟแดงเป็นการกระทำของผู้โง่เขลาเบาปัญญา --------- ข้าพเจ้าต้องการให้คนอื่น ๆ เห็นว่าข้าพเจ้าเป็นนักขับรถที่ดี --------- ชีวิตคน ๆ เดียวมีค่าน้อยกว่าชีวิตคนอื่น ๆ อีกหลายคนรวมกัน --------- เป็นการป้องกันมิให้ข้าพเจ้าได้รับบาดเจ็บเนื่องจากอาจชนกับรถคันอื่น
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]