รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด287
ชื่อเครื่องมือวัดพฤติกรรมในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ
งานวิจัยอ้างอิงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุของพยาบาลในสังกัดกรม การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610.7365 อ.253 ต. ร.3
คำสำคัญการประเมินพฤติกรรม พฤติกรรมการพยาบาล การพยาบาล ผู้ป่วยสูงอายุ
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยสูงอายุและการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 หน่วย การให้คะแนนถ้าเป็น
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ ระบุเพียงว่าเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์รายข้อ ด้วยเทคนิค 27 % ค่าอำนาจจำแนก t อยู่ระหว่าง 1.95 ถึง 8.86
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาล 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = . 84
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างพยาบาลที่ทำหน้าที่พยาบาลประจำการซึ่งมีประสบการณ์ในการพยาบาลผู้ป่วยสุงอายุสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จากโรงพยาบาล 3 แห่ง และสถาบันเฉพาะโรค 1 แห่ง ได้แก่ รพ.ราชวิถี, รพ.เลิดสิน, รพ.นพรัตน์ธานีและสถาบันมะเร็งแห่ง ชาติ จำนวน 350 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้ระบุไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปรพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ หมายถึง การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยสูงอายุด้วยความเมตตา กรุณา สุภาพอ่อนโยน อดทน เสียสละและรับผิดชอบ เป็นการดูแลทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม เพื่อบรรเทาอาการของโรค รวมทั้งการป้อง กันโรคที่จะกิดขึ้นและส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพอนามัย โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ และศิลปะในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ในผู้ป่วยสูงอายุที่เช็ดตัวเองได้ช้าและไม่ถนัดนัก ท่านได้ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยเช็ดตัวเอง 2. เมื่อถึงเวลาพลิกตัวผู้ป่วยสูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ท่านมักจะเลยเวลา 3. เมื่อผู้ป่วยสูงอายุบ่นปวดเมื่อยตามร่างกาย ท่านไม่เคยบีบนวดให้ผู้ป่วยเลย 4. ในผู้ป่วยสูงอายุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ท่านได้ทำกายบริหารให้บ้าง 5. เมื่อต้องพบกับผู้ป่วยสูงอายุที่เรียกร้องความเอาใจใส่มาก ท่านจะไม่ใส่ใจผู้ป่วยนัก 6. เมื่อจะให้การพยาบาลกับผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว พูดไม่ได้ หรือไม่ค่อยรู้เรื่อง ท่านจะบอกผู้ป่วยให้รับรู้ก่อนให้การพยาบาล 7. เมื่อผู้ป่วยสูงอายุต้องการพูดคุยระบายความรู้สึกกับท่าน ท่านจะตัดบทเพราะผู้ป่วยชอบพูดเรียกร้องความสนใจ 8. ในผู้ป่วยสูงอายุที่แยกตัวชอบอยู่ตามลำพัง ส่วนใหญ่ท่านจะปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวตามใจผู้ป่วย 9. กิจกรรมเพื่อคลายความเหงาเท่าที่ท่านได้กระทำให้ผู้ป่วยสูงอายุ ได้แก่ จัดโปสเตอร์เกี่ยวกับความรู้เรื่องการปฏิบัติของผู้ป่วย จัดช่วงเวลาให้ผู้ป่วยได้อยู่ใกล้ชิดญาติ 10. ในขณะที่ญาติมาเยี่ยมผู้ป่วยสูงอายุ และถึงเวลาที่ท่านต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยท่านจะให้การพยาบาลเท่าที่จำเป็นและน้อยที่ สุดเพื่อให้ผู้ป่วยได้อยู่ใกล้ชิดญาติ ----------- ------- ----------- ---------------- ------------ --------------- จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงที่สุด
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]