รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด277
ชื่อเครื่องมือวัดการอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักและการอบรมเลี้ยงดูแบบค
งานวิจัยอ้างอิงผลของการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 . ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ: มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ153.80834 ส852 ผ ร. 3
คำสำคัญการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรัก รักสนับสนุน ควบคุม
ที่มาของเครื่องมือวัด พัฒนามาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบสอบถามที่ประณต เล็กสวัสดิ์(2517) และวารินทร์ ม่วงสุวรรณ(2517) ร่วมกันสร้างขึ้น ตามแนวคิดของ Shaefer
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 4 ระดับ ตั้งแต่ ทุกครั้ง จ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540 ร.ร. วัดตะกล่ำ แขวงหนอง บอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้องเรียน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation ค่าอำนาจจำแนก t แบบรัก อยู่ในช่วง 2.19 ถึง 8.35 แบบควบคุมอยู่ในช่วง 2.11 ถึง 7.23
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญ
ความเชื่อมั่นไม่ได้ระบุวิธีการตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่น ระบุเพียงค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยแบบควบคุม = .90 แบบรัก = .92
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชายหญิงระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 ร.ร.วัดตะกล่ำ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 48 คน
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้นำเสนอไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดการอบรมเลี้ยงดูแบบรัก หมายถึง พฤติกรรมที่แม่ปฏิบัติต่อลูกของตัวเองในลักษณะต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ1. มองลูกในแง่ดีหรือ ประเมินตัวลูกในทางที่ดี(Positive Evaluation) 2. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการคิดและการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ (Sharing) 3. แสดง ความรักลูกออกมาให้เห็น(Expression of Love) 4. สนับสนุนและเข้าใจอารมณ์ของลูก(Emotional Support) วัดการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม หมายถึง พฤติกรรมของแม่ที่ปฏิบัติต่อลูกของตัวเองในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1. ก้าวก่าย เรื่องส่วนตัวของลูก(Intrusiveness) 2. ยับยั้งการก้าวร้าวของลูก(Suppression) 3. ทำให้ลูกรู้สึกผิดเมื่อแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะ สม (Control Throgh Guilt ) 4. ให้ลูกทำตามความต้องการของตัวแม่เอง(Parental Direction) 5.ใช้คำพูดที่ทำให้ลูกรู้สึกละอายโดย เปรียบเทียบว่าลูกคนอื่นดีกว่าลูกของตนเอง
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. แม่ทำในสิ่งที่ฉันชอบ 2. แม่พาฉันไปไหนมาไหนด้วย 3. แม่เอาใจใส่คอยช่วยฉันทำงานต่าง ๆ 4. เวลาที่แม่มีเรื่องในใจจะบอกให้ฉันทราบ 5. แม่ชมเชยในงานที่ฉันทำ 6. แม่ยืนกรานว่าฉันต้องได้รับอนุญาตก่อนไปเที่ยว 7.แม่จะดุเวลาที่ฉันพูดเสียงดังมาก 8. ไม่ว่าฉันจะทำอะไรจะต้องอยู่ในสายตาของแม่ตลอดเวลา 9. แม่คอยสอดส่องดูแลอยู่เสมอไม่ว่าฉันจะคบกับใคร 10. ไม่ว่าแม่จะทำอะไรก็ตาม แม่มักจะคิดว่าแม่ทำถูกเสมอและต้องการให้ฉันทำตามด้วย --------- ------------- --------------- ------------------- ทุกครั้ง บ่อยครั้ง ทำบางครั้ง ไม่เคยทำเลย แบบรัก ข้อ 1-5 แบบควบคุม ข้อ 6-10
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]