รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด276
ชื่อเครื่องมือวัดการได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในการทำงาน
งานวิจัยอ้างอิงการถ่ายทอดทางสังคมในการทำงาน จิตลักษณ์ และการรับรู้ เกี่ยวกับบทบาทที่สัมพันธ์กับ พฤติกรรมการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลในภาคเหนือของประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์. วท.ม. . กรุ
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610.7343 ว691ก ร.3
คำสำคัญการถ่ายทอดทางสังคม การทำงาน
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ตามคำนิยามศัพท์ปฏิบัติการ
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 6 ระดับ จากมากที่สุด จนถึ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบล ที่ปฏิบัติงานในเขตกระทรวงสาธารณสุขที่ 8,9,10 ที่มีลักษณะใกล้ เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคระห์ Item total correlation ค่าอำนาจจำแนกด้านการบริหาร r= .16 ถึง .40 ด้านบริการ .35 ถึง .68 ด้านวิชาการ .54 ถึง .70 ด้านการปฏิบัติงานสนับสนุน .57 ถึง .69
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค = .95
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานีอนามัยไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในพื้นที่ภาคเหนือประเทศไทยในเขต การตรวจราชการสาธารณสุข 8,9,10
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้นำเสนอไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปรลักษณะการได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในการทำงาน ประกอบด้วย 2 ตัวแปร 1. การได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในการทำงานอย่างเป็นทางการ หมายถึง ปริมาณการได้รับการอบรมถ่ายทอด เช่น การฝึก อบรม การปฐมนิเทศ การนิเทศงาน การจัดประชุมต่าง ๆ จากหน่วยงานและองค์การด้านสาธารณสุขอันเป็นการปลูกฝังวิธีการ กระบวนการในการทำงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตระหนักในความรับผิดชอบและการยอมรับปฏิบัติในการทำงานในสถานีอนา มัยตามบทบาทหน้าที่ 4 ด้านหลัก คือ ด้านบริหาร บริการวิชาการและการปฏิบัติงานสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐานและการ พัฒนาชนบท 2. การได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในการทำงานอย่างไม่เป็นทางการ หมายถึง ปริมาณการได้รับการถ่ายทอด เช่นการสอน บอกเล่า แนะนำชี้แนะ และทำเป็นแบบอย่างจากการมีปฏิสังสรรค์กับผู้บริหาร ทีมงาน/ ผู้ร่วมงาน เพื่อร่วมงานอย่างไม่เป็น ทางการอันเป็นการปลูกฝังวิธีการ กระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตระหนักในความรับผิดชอบและการยอมรับปฏิบัติ ในการทำงานในสถานีอนามัยตามบทบาทหน้าที่ 4 ด้านหลักคือ ด้านการบริการ บริหาร วิชาการและการปฏิบัติงานสนับสนุน การพัฒนาชนบท
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. สามารถทำรายงานการเงินได้เรียบร้อยเพราะได้รับการฝึกอบรมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2. เรียนรู้เรื่องการวางแผนการใช้เงินบำรุงในสถานีอนามัยจากการพูดคุยกับฝ่ายที่รับผิดชอบใน สสอ. 3. เรียนรู้การจัดทำหลักฐานการเงินต่าง ๆ ได้ดีเพราะได้รับการสอน/ชี้แนะจากเพื่อนร่วมงานที่ สอ. 4. เรียนรู้เรื่องรักษาโรคผู้ป่วยในสถานีอนามัยจากการดูแบบอย่างจากเพื่อร่วมงานที่ สอ. 5. ทำการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยเรื้อรังได้เพราะได้รับการอบรมจากทางราชการ 6. สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้องโดยการทำตามวิธีที่ได้รับการอบรมจาก สสจ. 7. เรียนรู้เรื่องการวิจัยเบื้องต้นในสถานีอนามัยจากการปรึกษากับรุ่นพี่ที่ทำงานร่วมกัน 8. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้เพราะได้รับการนิเทศงานจาก สสจ. 9. สามารถเขียนโครงการพิเศษเพื่อพัฒนาสถานีอนามัยที่ทำงานอยู่โดยการดูแบบอย่างของรุ่นพี่ 10. เรียนรู้เรื่องการสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ จากการสังเกตดูแบบอย่างที่รุ่นพี่ทำไว้ 11. สามารถประสานงานกับ อบต. ในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างดีโดยการศึกษาจากตำรา/เอกสารต่าง ๆ ด้วยตนเอง 12. เรียนรู้การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในหมู่บ้านได้ เพราะได้รับความรู้มาจากการจัดอบรมของ สสจ. ----------- -------- ----------------- ----------------- ------ ------------- มากที่สุด มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้าน้อย น้อย น้อยที่สุด ด้านบริหาร ข้อ 1-3 ด้านบริการข้อ 4-6 ด้านวิชาการ 7-9 ด้านปฏิบัติงานสนับสนุนการสาธาณสุขมูลฐานและการพัฒนาชนบท ข้อ 10-12
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]