รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด270
ชื่อเครื่องมือวัดพฤติกรรมการทำงานด้านสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐานและก
งานวิจัยอ้างอิงการถ่ายทอดทางสังคมในการทำงาน จิตลักษณ์ และการรับรู้ เกี่ยวกับบทบาทที่สัมพันธ์กับ พฤติกรรมการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลในภาคเหนือของประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์. วท.ม. . กรุ
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ610.7343 ว691 ก. ร.3
คำสำคัญการประเมินพฤติกรรม พฤติกรรมการทำงาน การสนับสนุน สาธารณสุขมูลฐาน การพัฒนาชนบท ชนบท
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ตามคำนิยามศัพท์ปฏิบัติการ
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราประมาณค่า 6 หน่วย โดยให้คะแนนข้อความทางบว
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช่เครื่องมือ เป็นบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลที่ปฏิบัติงานในเขตกระทรวงสาธารณสุขที่ 8,9,10 ที่มีลักษณะใกล้ เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation เลือกข้อที่มีค่าความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .58 ถึง .89
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคโดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .96
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานีอนามัยไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยในเขต ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 8,9,10
เวลาในการใช้เครื่องมือไม่ได้นำเสนอไว้ในปริญญานิพนธ์
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดพฤติกรรมการทำงานด้านสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาชนบท ในที่นี้หมายถึง ปริมาณการทำงานด้านสนับ สนุนการสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาชนบทอย่างเต็มกำลังความสามารถซึ่งประกอบด้วย การสนับสนุนกิจกรรม สาธารณสุข เพื่อพัฒนาชุมชนโดยการประสานงานหน่วยงานอื่น เช่น 6 กระทรวงหลัก องคืการบริหารส่วนตำบล(อบต.) รวมทั้งารส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของประชาชนในงานสาธารณสุข
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. สนับสนุนการชั่งน้ำหนักเด็กของอสม. ในหมู่บ้าน 2. ร่วมมือกับ 6 กระทรวงหลักทำการพัฒนาหมู่บ้านในพื้นที่ของสถานีอนามัย 3. สนับสนุนอุปกรณ์การตรวจรักษาโรคง่าย ๆ ให้ ศสมช. ในชุมชนที่รับผิดชอบ 4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง ศสมช. 5. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ 6 กระทรวงหลักส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน 6. ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนร่วมกับ อบต. 7. ส่งเสริมให้ชุมชนมี ศสมช. ครบทุกหมู่บ้าน 8. ให้การสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม/ชมรมของ อสม. ในความรับผิดชอบ 9. จัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมปลูกสมุนไพรไว้ทุกครัวเรือน 10. ปรับปรุงงานสำรวจ จปฐ. ให้ได้ข้อมูลครอบคลุม ----------- ------------ ------------ -------------- -------- --------------- มากที่สุด มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างน้อย น้อย น้อยที่สุด
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]